ข้อมูลดีๆเกี่ยวกับพิธีทำศพซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

7

การบอกทาง เมื่อเชื่อแน่ว่าผู้ป่วยต้องถึงแก่กรรม หรือมีการบอกให้ทราบว่าจะถึงแก่กรรมในระยะอันใกล้นี้แล้ว ผู้พยาบาลต้องจัดหาดอกไม้ธูปเทียนใส่กรวยใบตองให้ผู้ตายถือไว้ และบอกให้รำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กับให้ทำใจให้สงบ ไม่กระวนกระวาย เพื่อว่าให้ผู้ตายได้ตายด้วยความสงบทั้งทางร่างกายและจิตใจจริง ๆ การปฏิบัติเมื่อตายแล้ว เมื่อสิ้นลมหายใจ ให้จุดเทียนไว้ข้างศพ โดยใช้เทียนขี้ผึ้งมีไส้ 7 ไส้ เมื่อเทียนเล่มนั้นจุดหมดดับแล้ว ผู้ตายไม่ฟื้นขึ้นก็เชื่อได้ว่าตายแน่แล้ว ถ้าเอาศพเข้าโลงไม่ทันต้องเอาไว้ข้ามคืน ให้เอาผ้าคลุมศพไว้ และอยู่ตามไฟ กับระวังอย่าให้แมวกระโดดข้าม เพราะถือกันว่าผีจะแรง การอาบน้ำศพ ก่อนเอาศพใส่โลงต้องทำพิธีอาบน้ำศพเสียก่อน ตอนแรกอาบด้วยน้ำอุ่น แล้วอาบด้วยน้ำเย็น ฟอกศพด้วยผิวมะกรูดแล้วล้างให้สะอาด เช็ดถูให้แห้งแล้วตำขมิ้นชันสดกับผิวมะกรูดขัดให้ทั่วอีกทีหนึ่ง แล้วแต่งตัวศพด้วยเสื้อผ้าใหม่ ถ้าจะมีการรดน้ำศพอีก ก็เอาศพขึ้นวางบนเตียง จับแขนข้างหนึ่งให้ทอดออกมา ผู้มารดน้ำศพก็เอาน้ำหอมหยดลงที่ฝ่ามือของศพ อธิษฐานในใจให้อโหสิกรรมที่อาจจะมีอยู่แก่กันเสีย

การเอาศพใส่โลง ก่อนเอาศพใส่โลงให้ตำหมากใส่ในปากศพคำหนึ่ง แล้วหาเงินบาทหรือแหวนทองคำใส่ลงไปในปาก เอาขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้วกว้างพอดีกับหน้าของศพปิดหน้าศพไว้เพื่อกันอุจาดนัยน์ตา เอากรวยดอกไม้ธูปเทียนใส่มือ แล้วตราสังข์ศพด้วยผ้าขาว ยกไปวางในโลง ปิดฝาโลงให้เรียบร้อย การตั้งศพทำบุญ การตังศพทำบุญจะทำที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตอนค่ำมีการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมเป็นประจำทุกคืนจนกว่าจะถึงวันกำหนดทำพิธีเผา หรือเก็บศพไว้เผาทีหลังการเผาศพ เมื่อถึงวันเผาศพยกศพไปตั้งในศาลา นิมนต์พระมาสวดบังสุกุล ถ้ามีเทศน์ก็เทศน์เสียก่อนบังสุกุล หามโลงเวียนเชิงตะกอน 3 รอบแล้วเอาขึ้นตั้งบนเชิงตะกอน ให้พระจุดไฟเผาก่อนคนไปร่วมด้วยจึงจุดไฟเผาทีหลัง ในตอนนี้อาจจะมีการสวดหน้าไฟด้วยก็ได้ การเก็บกระดูก ศพมักเผาในตอนเย็น รุ่งเช้าจึงมีการเก็บกระดูก และนิมนต์พระมาตักบาตรปากหลุม เป็นเสร็จพิธี

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือของคนล้านนา

15

ประเพณีวัฒนธรรมของคนล้านนาเมื่อมีคนตายจะต้องจัดพิธีงานศพขึ้นเพื่อเป็นการ ไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของคนล้านนาจะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือ แห้งให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้าปราสาทงานศพจะนิยมใช้ในพิธีงานศพของจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเมืองเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลไทแต่ดั่งเดิมรูปแบบของปราสาทงานศพมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ปราสาทที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นวัสดุดั่งเดิมส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ฉำฉา เพราะมีน้ำหนักเบาและเวลาเผาจะไหม้ไฟได้ง่าย ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นวิวัฒนาการของปราสาท สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำโต๊ะ เก้าอี้มาประดับในปราสาท เมื่อเวลาเผาศพแล้วก็จะนำโต๊ะ เก้าอี้เหล่านั้นไปมอบถวายให้กับวัดเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ต่อไป

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพมีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกะพริบอย่างสวย งาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้านและบรรดาลูกหลานของคนตายจะ ช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทาน ประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วันในพิธีงานศพแถบหมู่บ้านรอบนอกจะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3 – 5 วันนิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน แต่ปัจจุบันความนิยมดังกล่าวลดลงจะมีให้เห็นและเหลืออยู่ก็เพียงชาวบ้านที่ อยู่ในชนบท ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะตั้งปราสาทและทำพิธีศพได้ ส่วนคนในเมืองที่มีบริเวณบ้านคับแคบก็จะเอาศพไปตั้งไว้ที่วัด

วัดในแถบภาคเหนือจะต่างจากวัดของภาคอื่นๆ คือ ในวัดจะไม่มีเมรุเผาศพ เพราะการเผาศพจะไม่ได้เผาที่วัด แต่จะนำไปเผาที่สุสาน หรือ ป่าช้า คนล้านนาเรียก ป่าเหี้ยว นอกจากปราสาทที่พบอยู่ในพิธีกรรมงานศพของคนธรรมดาแล้ว ยังมีปราสาทอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บรรจุศพของพระที่มรณภาพ จะแตกต่างกันในรายละเอียดและทำขึ้นอย่างสวยงามมากกว่าของคนธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งตามตำนานเชื่อว่า นกหัสดีลงค์เป็นนกในวรรณคดีไทยที่มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง และเป็นพาหนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์

พิธีการเรื่องงานศพนั้น เริ่มต้นจากการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตายสมัยก่อนนิยมใช้น้ำอบ

11

ตามปกติเมื่อมีคนตายไม่ว่าจะตายที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล ญาติต้องไปแจ้งอำเภอเป็นอันดับแรก แล้วเขาก็มีวิธีการชันสูตรศพตามระเบียบกฎหมายของบ้านเมือง เมื่อไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ญาติก็สามารถนำร่างไร้วิญญาณนั้นมาประกอบพิธีตามศาสนาใครศาสนามันได้ สำหรับชาวพุทธก็มีการสวดศพ บำเพ็ญกุศล เริ่มตั้งแต่มีการรดน้ำศพ บรรจุศพลงโลง สวดพระอภิธรรม ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ เผาศพ เก็บอัฐิ และการทำบุญครบรอบวันตาย ตามแต่วัฒนธรรมและกำลังทรัพย์ของแต่ละบ้านจะเอื้ออำนวย

พิธีการเรื่องงานศพนั้น เริ่มต้นจากการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตาย สมัยก่อนนิยมใช้น้ำอบ ประแป้ง แต่งตัวตามยศศักดิ์ที่มี ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ ก็เลือกชุดที่ผู้ตายชอบใส่ แต่บางบ้านนิยมใช้เสื้อผ้าใหม่ ๆ สวย ๆ ด้วยมีความคิดว่าอยากให้ผู้ตายดูดีที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็นำศพขึ้นนอนบนตั่ง โดยหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก เพื่อให้ญาติพี่น้อง มิตรสหายเข้ามารดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพและขอขมากันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะทำการมัดตราสังบรรจุลงหีบศพต่อไป ถ้าเป็น
ข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ ญาติสามารถทำเรื่องขอน้ำหลวงพระราชทานเพื่อนำมาอาบน้ำศพได้ วิธีมัดตราสังนั้นโบราณเขาจะทำเป็นกรวยดอกไม้สดใส่ในมือผู้ตายที่จัดท่าให้พนมมือไหว้ระหว่างอก แล้วก็นำเงินใส่ไปในปากผู้ตาย

ประเพณีการใส่เงินในปากคนตายนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่มีการบันทึกเอาไว้ แต่จากการกล่าวอ้างว่ามีหลักฐานปรากฏอยู่ในประเพณีของชนหลายชาติไม่ว่าจะเป็น กรีก ฮินดู จีน ยิว ฯลฯ สำหรับคนไทยแต่โบราณทำเป็นประเพณีสืบกันมานั้น มีเล่ากันมาว่า สมัยก่อนนิยมเย็บเป็นถุงผ้าเล็ก ๆ นำเงินหรือของมีค่าบรรจุใส่ถุงแล้วยัดใส่ไปในปากผู้ตายอีกทีหนึ่ง โดยให้เชือกที่มัดปากถุงผ้านั้นห้อยออกมานอกปากเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงนั้นร่วงหล่นเข้าไปในคอผุ้ตาย จึงมีคำเรียกกันว่า “ เงินปากผี “ เจ้าเงินปากผีนี้เองที่ผู้สร้างหนังไทย นำมาเป็นพล๊อตเรื่องสร้างเป็นหนังเป็นละคร หรือเขียนเป็นนวนิยายให้อ่านกันมานักต่อนักแล้ว นอกจากนี้ พวกบ้าวัตถุอาถรรพ์ทั้งหลาย ต่างก็พยายามแสวงหาเงินปากผีมาไว้ครอบครอง นัยว่ามันเฮี้ยนดีนักแล เอ้า…ความเชื่อของแต่ละคน ก็ว่ากันไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเพณีเอาเงินใส่ปากผู้ตายนั้น เป็นเคล็ดในการสอนสั่งญาติมิตรสหายของผู้ตายให้เห็นว่า คนเราเมื่อตายแล้ว แม้แต่เงินที่อยู่ในปากตัวเองยังเอาไปไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่จะสามารถติดตามไปได้ก็คือความดี บุญกุศลที่ได้สะสมเอาไว้เมื่อยามมีชีวิตอยู่ ซึ่งสาระสำคัญในส่วนนี้มักจะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องมาเทศน์ให้ญาติโยมฟัง

ประเพณีการสวดพระอภิธรรมในงานศพ

ในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพุทธมารดาได้ทรงแสดงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เพื่อตอบแทนพระคุณของมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นสวรรค์ชั้นกลางๆ เทวดาชั้นต่ำก็สามารถขั้นไปฟังธรรมได้ ชั้นที่สูงกว่าก็ลงมาฟังธรรมได้ ทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบันเป็นเบื้องต่ำ และอนาคามีเป็นเบื้องสูง ทรงใช้เวลาในการแสดงธรรม ๓ เดือน ปัจจุบันพระสงฆ์ใช้ธรรมะหมวดอภิธรรมเป็นบทสวดเนื่องในการสวดอภิธรรมศพ เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้วชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ ๔ กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิต เจตสิก ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณ ย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้

การนิมนต์พระสงฆ์มาในการบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่ผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นราษฎรสามัญทั่วไป หรือจะเป็นเจ้านายชั้นสูง ก็ไม่มีข้อขีดคั่นแต่อย่างใด สมมุติว่ามีญาติพี่น้องถึงแก่ความตาย หลังจากได้จัดการศพตามประเพณีนิยมแล้วจึงไปนิมนต์พระที่วัด จำนวน ๔ รูปไปสวดในเวลากลางคืน เริ่มตั้งแต่ ๑ ทุ่ม ถึง ๔ ทุ่ม หรืออาจเลยกว่านั้นบ้างก็ได้ ทั้งนี้สุดแท้แต่ความสะดวกทั้งฝ่ายพระสงฆ์และเจ้าภาพ กำหนดจำนวนวันที่จะสวด อาจเป็น ๓ คืนหรือ ๗ คืน หรือมากน้อยตามกำลังศรัทธา ส่วนในรายที่เป็นผู้มีเกียรติ มีบริวารมาก จะบำเพ็ญกุศลด้วยการสวดมากกว่า ๓-๗ คืน ถึง ๕๐ คืน หรือจนถึง ๑๐๐ คืนก็ได้

การสวดพระอภิธรรมเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ เมื่อมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งซึ่งนับถือพระพุทธศาสนาเสียชีวิตลงผู้ที่เป็นญาติมิตรและผู้คุ้นเคยก็จะจัดให้มีการสวดพระอภิธรรมขึ้นเพื่อเป็นการสร้างบำเพ็ญกุศลและอุทิศผลบุญนั้นไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ ในระยะหลังๆการสวดพระอภิธรรมได้พัฒนาออกไปมาก มีการนำเอาบทสวดอื่นๆมาใช้สวด เช่น สวดพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ สวดพระมาลัย สวดสหัสสนัย สวดแปล เป็นต้น การฟังสวดพระอภิธรรมนั้นแม้เราจะยังไม่เข้าใจ แต่การได้ฟังไว้บ้างก็ยังเป็นผลดีอยู่นั่นเอง เพราะขณะฟังหากตั้งใจฟังอย่างดี ก็ย่อมมีสมาธิได้เหมือนกัน การตั้งใจฟังสวดด้วยดี จนเกิดสมาธิจัดเป็นบุญชั้นสูงอย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘ภาวนามัย’ คือบุญที่เกิดจากการฝึกจิต เมื่อเราตั้งใจฟัง เราก็ได้บุญ และน้อมอุทิศบุญที่เกิดจากการตั้งใจฟังสวดนี้เอง อุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายอีกทีหนึ่ง คนที่มาร่วมงานศพ แต่ไม่ตั้งใจฟังสวด จะเอาบุญจากที่ไหนมาอุทิศให้ผู้วายชนม์

นวัตกรรมงานสร้างสรรค์แห่งวาระสุดท้าย โลงสำหรับจัดงานศพรักษ์สิ่งแวดล้อม


กระดาษรังผึ้งเป็นนวัตกรรมใหม่ในประเทศไทย มีจุดเด่น คือ สามารถนำไปทำผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และสามารถตกแต่งภายนอกให้เป็นรูปลักษณ์ตามความต้องการ หรือเหมาะสมกับการจัดงาน กล่าวคือ โลงศพกระดาษในรูปแบบสำเร็จทำจากกระดาษรังผึ้ง 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ใช้เวลาในการเผาไหม้เพียง 10 นาที และยังสามารถย่อยสลายภายใน 7 วัน อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตจากเดิม เนื่องจากป่าไม้ในปัจจุบันมีปริมาณลดน้อยลง ไม้ใหญ่มีไม่เพียงพอกับการใช้งาน มีราคาสูง ดังนั้น การทำโลงกระดาษรังผึ้งจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ลดภาวะโลกร้อน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดพิธีกรรมมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่าโลงไม้ที่มีราคาสูง เป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย และเพิ่มช่องทางในการทำธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง

เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ มนุษย์เมื่อยังคงมีชีวิตอยู่ ต้องดิ้นรน แสวงหา เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ ยามเมื่อหมดลมหายใจลงต้องวางทุกสิ่งลงบนโลกใบนี้ เป็นสัจธรรมมนุษย์เมื่อหมดลมหายใจลง หมายถึง ความตาย บรรดาญาติพี่น้อง ก็จะดำเนินการกับผู้ลาโลกนี้ไปด้วยวิธีการตามหลักศาสนา ชาวพุทธนิยมนำศพผู้เสียชีวิตไปฌาปนกิจศพด้วยการเผา ชาวศริตส์หรือชาวอิสลาม นิยมนำศพไปฝัง ดังนั้นการบรรจุศพไว้ในโลงจึงมีความสำคัญ ในอดีตโลงศพที่ใช้จะทำจากไม้เนื้อดี ซึ่งหาได้ง่ายและราคาไม่แพงมาก แต่ในปัจจุบัน มีการการรณรงค์เรื่องลดภาวะโลกร้อนการรักษ์สิ่งแวดล้อม ทุกๆคน ต้องร่วมกันช่วยลดมลพิษและลดโลกร้อน การปลูกต้นไม้ ไม่ตัดไม้ทำลายป่า การนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมารีไซเคิล และอีกหลายๆวิธี การคิดหาวัสดุขึ้นมาทดแทนจากโลงศพที่เคยใช้ไม้ ก็มีการนำกระดาษมาผลิตทำเป็นโลงกระดาษ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนในยุคปัจจุบันและในอนาคต

ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเราสามารถนำวัสดุเหลือใช้ที่มาจากธรรมชาติ ถูกนำมาแปรรูป หรือทดแทนวัสดุที่มีอยู่เดิมเนื่องจากป่าไม้ในปัจจุบันลดปริมาณลงไปทั้งยังช่วยลดมลภาวะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยการดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การนำเส้นใยกล้วย ใยสับปะรด หวาย กก ผักตบชวา ที่นอกจากนำมาใช้ทำเป็นเครื่องถักสานเพื่อใช้ใส่สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถนำมาดัดแปลงเป็นโลงศพ เพื่อเป็นช่องทางในเชิงธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่ง

การจัดงานศพเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตาย เพื่อเป็นการบอกลาแก่ผู้ตายเป็นครั้งสุดท้าย

ความตายเป็นสัจธรรมของทุกชีวิตที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ เมื่อตายไปแล้ว สิ่งที่ทำให้มนุษย์เราแตกต่างจากสัตว์หรือสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น คือการจัดให้มีพิธีกรรมหลังความตายที่เรียกว่าพิธีศพหรือการจัดงานศพ ซึ่งกลายเป็นประเพณีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ตายไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใด ในการจัดงานศพนี้จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้องการและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ตายและญาติเป็นสำคัญ หลายคนละเลยที่จะนึกถึงเรื่องนี้เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่ยังมาไม่ถึง หลายคนไม่อยากจะนึกถึงเพราะความตายเป็นเรื่องที่น่ากลัวและเป็นเรื่องอัปมงคลที่จะต้องมานึกถึงวันตายของตัวเอง แต่ความจริงแล้ว การลองคิดคำนวณถึงงบประมาณที่จะต้องใช้ในการจัดงานศพ กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนควรจะทำเพื่อจัดเตรียมงบประมาณไว้จำนวนหนึ่งสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในพิธีศพของตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกหลานญาติมิตรที่อยู่เบื้องหลังไม่ต้องเดือดร้อน จึงเป็นที่มาของการจัดเตรียมงบประมาณส่วนหนึ่งไว้สำหรับการดังกล่าวในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ปรากฏให้เห็นผ่านการทำประกันชีวิตและการรวมกลุ่มจัดตั้งสหกรณ์หรือกองทุนฌาปนกิจต่าง ๆ

ในปัจจุบันนี้มีผู้ให้บริการรับจัดงานศพแบบแบบครบวงจร (One stop service) นับตั้งแต่ขั้นตอนแรกหลังการตายไปจนถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการทำพิธีลอยอังคารได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนสมบูรณ์ โดยคิดค่าบริการแบบสมเหตุสมผล แต่สามารถช่วยอำนวยความสะดวกและแบ่งเบาภาระของญาติในการจัดงานศพได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความชำนาญในทุกขั้นตอนเป็นอย่างดี และยังสามารถจัดงานศพในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการของญาติได้อีกด้วย การใช้บริการการรับจัดงานศพจึงเป็นทางเลือกที่ญาติให้ความไว้วางใจและได้รับความนิบยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ว่าจะจัดแบบไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดคืองบประมาณที่ต้องใช้ซึ่งได้รับการจัดเตรียมไว้แล้วอย่างเหมาะสม แม้จะถือเป็นหน้าที่ของลูกหลานที่ดีที่จะต้องช่วยจัดการให้บุพการีผู้ล่วงลับ แต่หากเราสามารถทำด้วยตนเองได้ก็น่าจะเป็นการดีกว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นคือการได้จัดงานอย่างสมเกียรติและถูกต้องเหมาะสมตามหลักประเพณี มากไปกว่านั้นคือความสบายใจของลูกหลานญาติมิตรผู้อยู่เบื้องหลังที่จะไม่ต้องเดือดร้อน เมื่อวันนั้นมาถึงเราก็จะได้จากไปอย่างมีความสุข เรียกได้ว่า นอนตายตาหลับ อย่างแท้จริง

ธุรกิจงานศพเติบโตมากมายแค่ไหน

ธุรกิจงานศพเติบโตมากมายแค่ไหน สามารถประเมินได้จากการผุดขึ้นของธุรกิจเกี่ยวเนื่องใหม่ๆ อาทิ ธุรกิจรับจัดงานศพอย่างครบวงจร เนื่องจากการจัดงานศพนั้นมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก ทำให้เกิดธุรกิจรับจัดงานศพอย่างครบวงจรครอบคลุมการบริการอย่างครบวงจรตั้งแต่การแต่งหน้าและฉีดยาศพ จัดหาวัด ขอใบมรณะบัตร จัดเตรียมพิธีรดน้ำศพ ติดต่อขอน้ำหลวงอาบศพ จัดทำพิธีบรรจุศพ จัดทำพิธีสวดพระอภิธรรมหรือพิธีกงเต็กและงานฌาปนกิจหรือพระราชทานเพลิงศพ รวมถึงงานอื่นๆ ทั้งการ์ดงานศพ ดอกไม้ อาหารว่าง บอร์ดภาพถ่าย ของชำร่วย/หนังสือที่ระลึก และบริการเสริมในการจัดงานได้ เช่น พิธีลอยอังคาร การนำผู้ร่วมงานไปยังที่ฝังศพ เป็นต้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าภาพที่ไม่มีเวลา และไม่ต้องการยุ่งยากในการจัดงานให้ครบถ้วนตามประเพณี

ลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจรับจัดงานศพอย่างครบวงจรนั้นส่วนใหญ่จะเป็นลูกค้าระดับบนหรือลูกค้าที่มีรายได้สูง โดยมีระดับราคาตั้งแต่ 120,000 –400,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนวันที่จะจัดพิธีศพ และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งคาดว่าธุรกิจนี้จะมีผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นบริษัทผู้จัดงานสนใจเข้ามาทำธุรกิจลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพราะยังเหลือช่องว่างทางการตลาดมาก

1.ธุรกิจแต่งหน้า/แต่งตัวศพ ก่อนที่จะนำร่างผู้ตายไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ญาติๆจะจัดการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตายเสียใหม่ ด้วยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายมีเสื้อผ้าดีๆใส่ติดตัวไปยังภพภูมิใหม่ด้วย นอกจากนั้นยังมีการแต่งหน้าให้ดูดี มีสีสัน เพื่อให้ผู้ตายดูดี และไม่เป็นที่หวาดกลัวของแขกเหรื่อที่มาร่วมไว้อาลัย หากผู้ตายเสียชีวิตที่โรงพยาบาล ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลก็มักจะเป็นผู้แต่งหน้าศพให้ โดยมีทั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งโรงพยาบาลว่าจ้างมาจากภายนอก และบุคลากรของโรงพยาบาลเอง ปกติมีค่าใช้จ่ายประมาณศพละ 1,000-2,000 บาท ค่าฉีดฟอร์มาลินปกติอยู่ที่ 500 บาท แต่หากเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ค่าฉีดยาศพจะสูงถึง 1,500-2,000 บาท เพราะจะคิดค่าความเสี่ยงด้วย

2.ธุรกิจจัดกงเต๊ก กงเต็กหมายถึงการที่ลูกหลานทำบุญกุศล ทั้งทำแทนผู้ตายและทำให้ผู้ตายเพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมากพอที่จะขึ้นไปสวรรค์ โดยพิธีกงเต็กมี 3 แบบคือ แบบพระจีนเป็นผู้ทำพิธี ถ้าต่างนิกายกันจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แบบคนธรรมดาเป็นผู้ประกอบพิธี โดยจะเป็นผู้ชายสวมชุดพระจีนสีขาว และแบบกงเต็กจีนแคะ การทำพิธีกงเต็กจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่นิมนต์มาสวด โดยถ้าเป็นกงเต็กใหญ่ก็จะต้องนิมนต์พระมาสวด 5 รูปขึ้นไป และถ้าเป็นกงเต็กเล็กก็จะมีการนิมนต์พระมาสวดรูปเดียวหรือ 3-5 รูป

ปัจจุบันผู้ที่ดำเนินการธุรกิจจัดพิธีกงเต็กนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ดำเนินธุรกิจนี้มาเป็นเวลานาน และจะได้รับการติดต่อในลักษณะบอกต่อๆกัน หรือการให้เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ไว้กับทางวัดที่อนุญาตให้มีการทำพิธีกงเต็กในวัดได้ ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าภาพและผู้ดำเนินการธุรกิจจัดพิธีกงเต็ก นอกจากนี้ธุรกิจต่อเนื่องจากธุรกิจกงเต็กคือ ธุรกิจเครื่องกระดาษ ของไหว้ รวมทั้งชุดที่ใส่เฉพาะในพิธีกงเต็กที่ทำจากผ้ากระสอบและผ้าดิบ

3.ธุรกิจเสื้อผ้าไว้ทุกข์ โดยทั่วไปจะเป็นเสื้อผ้าสีดำ แต่สำหรับชาวจีนจะนิยมใส่สีขาวทั้งชุดในระหว่างพิธีสวดศพ ในกรณีที่เป็นลูกหลานหรือญาติสนิทจะต้องซื้อเสื้อผ้าเพื่อใส่ไว้ทุกข์ ซึ่งโดยปกติจะไว้ทุกข์ประมาณ 100 วัน สำหรับผู้หลักผู้ใหญ่หรือทำงานมีชื่อเสียงทำให้ต้องได้รับเชิญให้ไปร่วมงานพิธีศพ ทำให้ต้องมีการเตรียมเสื้อผ้าสีดำไว้อย่างน้อย 3-5 ชุด ดังนั้นผู้ประกอบการจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูปจึงมักจะมีชุดดำไว้จำหน่าย เนื่องจากสามารถขายได้เรื่อยๆ ทุกเทศกาล

4.ธุรกิจของที่ระลึกในงานศพ ซึ่งทำให้เกิดเงินสะพัดในธุรกิจผลิตของชำร่วย และปัจจุบันนิยมแจกหนังสือเป็นของที่ระลึก โดยถ้าเป็นงานศพของผู้มีฐานะทางสังคมก็จะมีการจัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกเฉพาะงานขึ้นมาโดยเฉพาะ ซึ่งหนังสือเหล่านี้บางเล่มเป็นที่ต้องการของตลาดหนังสือ เนื่องจากเป็นที่นิยมของผู้อ่านมาก ทำให้มีการนำมาจำหน่ายต่อเป็นหนังสือมือสองอีกด้วย แต่ถ้างานศพที่ไม่ใหญ่โตมากนักก็มักจะเลือกหนังสือเกี่ยวกับธรรมะมาแจกเป็นหนังสือที่ระลึกในงานศพ ซึ่งทำให้เกิดเม็ดเงินสะพัดในธุรกิจสิ่งพิมพ์ นอกจากนี้เจ้าภาพบางรายนิยมแจกของที่ระลึกในลักษณะของชำร่วย โดยติดสติ๊กเกอร์ว่าเป็นของที่ระลึกพิธีศพผู้ใด ของที่นิยมได้แก่ ที่รองแก้ว ยาหม่อง ยาดม ฯลฯ

5.ธุรกิจแคทเทอริ่ง ธุรกิจการจัดเลี้ยงอาหารในช่วงที่พระสวดอภิธรรม มูลค่าธุรกิจนี้อยู่ในเกณฑ์สูงทำให้บรรดาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอาหาร และเบเกอรี่เล็งเห็นช่องทางธุรกิจ โดยการเข้าไปเสนอตัวเป็นผู้จัดการด้านอาหารให้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าภาพทั้งในลักษณะเป็นการจัดเลี้ยง หรือในลักษณะของการจัดอาหารกล่อง เครื่องดื่มประเภทต่างๆ รวมทั้งของว่าง นับว่าเป็นการสร้างช่องทางธุรกิจเพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจแคเทอริ่ง ซึ่งเป็นธุรกิจจัดเลี้ยงนอกสถานที่ที่มุ่งเจาะตลาดสัมมนาและงานต่างๆ เช่น งานเปิดตัวสินค้า หรือร้านค้า เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทอาหารและจำนวนแขกที่มาในงานเป็นสำคัญ

6.ธุรกิจร้านถ่ายรูป/วิดีโอ ธุรกิจร้านถ่ายรูป/วิดิโอได้รับอานิสงส์จากงานศพเช่นกัน โดยเจ้าภาพงานศพบางรายต้องการอัดขยายรูปของผู้เสียชีวิตเพื่อนำไปตั้งไว้หน้าศพในระหว่างวันที่สวดอภิธรรมศพ และวันที่เผาศพ นอกจากนี้เจ้าภาพยังถ่ายภาพพิธีศพ และบรรดาผู้เข้ามาร่วมงานเก็บไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย อาจจะดำเนินการเองหรือจ้างช่างถ่ายรูปมาดำเนินการให้ ในปัจจุบันยังมีธุรกิจรูปแบบใหม่คือ บริการแสดงภาพและความรู้สึกที่มีต่อผู้เสียชีวิตผ่านจอภาพพลาสม่าที่ติดตั้งที่ศาลาสวดอภิธรรม เช่น แสดงประวัติของผู้เสียชีวิต แสดงภาพและความรู้สึกประทับใจ แสดงคำไว้อาลัยของครอบครัวและผู้ร่วมงานต่อผู้เสียชีวิต เป็นต้น โดยมีการจัดแสดงทุกวันที่มีการสวดอภิธรรม และเมื่อเสร็จสิ้นงานก็จะมอบซีดีให้กับเจ้าภาพงานศพ

ประวัติศาสตร์ของความตาย มรดกของวิถีชีวิต สุสาน

มรดกถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาบทบาททางสังคมในอดีตเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ มรดกก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ มรดกต่างจากประวัติศาสตร์ตรงที่ มีความประณีต มีเรื่องราวของการเฉลิมฉลอง และมีแค่มิติเดียว

สุสาน Bukit Brown เป็นสถานที่ฝังศพขนาดใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ เปิดเมื่อปี คศ1922 โดยรัฐบาลที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ให้เป็นสุสานสาธารณะของคนจีน ต่อมาในปี คศ. พรรคกิจประชาชน หรือ ได้ลงมติยอมรรับ นโยบายเกี่ยวกับการฌาปณกิจ ว่าด้วยเรื่องการขาดแคลนพื้นที่ในสิงคโปร์ สุสาน Bukit Brown มีหลุมฝังศพประมาณ หลุมศพ แต่อนาคตของสุสานแห่งนี้กลับดูเลือนลางหลังยุคล่าอาณานิคมได้ผ่านพ้นไป

สุสาน Bukit Brown กลับมาเป็นประเด็นระดับชาติอีกครั้งในช่วง เดือนกันยายน คศ. 2011 เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการก่อสร้างทางหลวงขนาดกว้าง ช่องจราจร ตัดผ่านพื้นที่ส่วนหนึ่งของสุสานแห่งนี้ เพื่อลดปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในพื้นที่ นั่นหมายความว่า หลุมฝังศพกว่า แห่งได้ถูกทำลายไป ในปัจจุบัน สุสาน Bukit Brown มีความสำคัญลดลงไปกว่าเมื่อครั้งอดีต เนื่องจำนวนครอบครัวที่เดินทางไปแสดงความเคารพบรรพบุรุษของพวกเขา ในช่วงเทศกาล Qing Ming ชิงหมิง) มีปริมาณลดลง ทำให้หลุมฝังศพหลายแห่งถูกละเลยและอยู่ในสภาพที่ไม่รับการบำรุงรักษา บทบาทที่ถดถอยลงเป็นส่วนหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ของสุสานแห่งนี้

กลุ่มองค์กรประชาสังคมและสาธราณชนแสดงออกถึงความไม่พอใจ การตัดสินใจเกี่ยวกับสุสาน Bukit Brown นั้นปราศจากการพิจารณาที่เหมาะสม ผู้ให้การสนับสนุนด้านมรดก ไม่ว่าจะเป็นเครือขายประชาสังคมด้านมรดกของชาวสิงคโปร์ หรือ Singapore Heritage Society (SHS) ซึ่งเป็นกลุ่มเอ็นจีโอท้องถิ่น วิพากษ์วิจารณ์ว่า สุสานแห่งนี้ควรจะได้รับการ สงวนและรักษาไว้ เพราะเป็นสถานที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ ของชาวสิงโปร์ หรือแม้แต่ the Nature Society ซึ่งเป็นกลุ่มเอนจีโอทีทำงานด้านสิ่งแวดล้อมก็แย้งว่า การพัฒนาในพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสาน Bukit Brown จะทำให้พื้นที่เสี่ยงต่อภาวะนํ้าท่วม และเป็นภัยอันตรายต่อสัตว์ป่า ในเวลาต่อมาทั้งสององค์กรนี้และกลุ่มเอ็นจีโออื่นๆ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปรึกษาหารือให้กับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ในขณะเดียวกันนักเคลื่อนไหวด้านมรดก ต่างก็ช่วยกันกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว ผ่านสื่อสาธาราณะ ให้พยายามรักษาสุสาน Bukit Brown

การโต้แย้งเกี่ยวกับสุสานแห่งนี้ค่อยๆเงียบลง ในขณะที่โครงการก่อสร้างทางหลวงยังคงดำเนินต่อไปเมื่อภาครัฐเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มประสังคมโดยพิจารณาโครงการควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของสุสาน

ความเชื่อของคนอียิปต์ในการรักษาศพด้วยวิธีมัมมี่

อียิปต์ ในยุคสมัยโบราณเมื่อมีคนตายก็จะนำศพไปฝังไว้ในทะเลทรายอันร้อนระอุ ความร้อนและความแห้งแล้งทำให้ร่างกายแห้งอย่างรวดเร็ว โดยที่แบคทีเรียไม่มีโอกาสได้ย่อยสลายศพเสียก่อน จึงกลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติ คงจะมีการค้นพบโดยบังเอิญ ดังเช่นในภาพเป็นศพชาวอียิปต์โบราณที่ถูกฝังตามธรรมดาโดยมิได้มีการตบแต่งทำให้ไม่มีการย่อยสลายแต่อย่างไร แต่ศพที่กลายเป็นมัมมี่ไปตามธรรมชาติก็อยู่รอดมาให้ค้นพบได้ในสมัยปัจจุบัน โดยต่อมาชาวอียิปต์ก็เริ่มใช้โลงบรรจุศพก่อนฝังเพื่อป้องกันมิให้สัตว์ป่าแทะกินศพ แต่ก็กลับพบว่าซากศพที่ฝังในโลงได้เปื่อยเน่าไป ไม่แห้งและอยู่คงทนเหมือนแต่ก่อน เพราะโลงศพทำหน้าที่เก็บกักความชื้นจากร่างกาย เพียงพอที่จะอำนวยให้แบคทีเรียเจริญเติบโต และทำการย่อยสลายให้ศพเน่าเปื่อยสูญไปได้

ต่อมาหลายร้อยปี ชาวอียิปต์ก็ได้ศึกษาทดลองวิธีต่างๆเพื่อจะรักษาสภาพศพให้คงทนอยู่ได้ กรรมวิธีในการรักษาศพให้คงทน ประกอบด้วยการแช่อาบศพด้วยสิ่งที่ชะงักการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แล้วพันด้วยแถบผ้าลินิน ปัจจุบันเราเรียกกรรมวิธีนี้ว่า การทำมัมมี่ วิธีนี้เริ่มสมัยราชวงศ์ที่สี่ ซึ่งนักโบราณคดีขุดพบเป็นจำนวนมากที่เมืองไมดูม บางทีมัมมี่ที่ขุดพบจะมีเฉพาะส่วนของร่างกายที่ห่อหุ้มไว้เท่านั้นส่วนเครื่องในที่แยกเก็บไว้จะหายไป ทั้งนี้นักโบราณคดีเชื่อว่า บางทีศพของขุนนางชั้นสูงหรือผู้ร่ำรวย การเก็บห่อเครื่องในนิยมเก็บในภาชนะที่มีค่าต่าง ๆเช่นหม้อไหทองคำล้วน เมื่อนักขโมยสมบัติพบเข้าก็นำเอาไปทั้งภาชนะที่ใส่ เพราะไม่ต้องการเสียเวลากับการเอาออกแนวความคิดดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเป็นจริง

จากการที่พบมัมมี่ของราชินีเฮตเฟรส พระราชมารดาของฟาโรห์คูฟู ในสุสานโบราณที่เมืองกีซ่า เครื่องในของมัมมี่ถูกแยกเก็บไว้ในกล่องห่อด้วยผ้าลินินที่แช่น้ำยานาทรอน เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อย การเก็บเครื่องในมัมมี่ลักษณะเดียวกันนี้ เริ่มใช้กับประชาชนสมัยราชวงศ์ที่ห้าและราชวงศ์ที่หก ซึ่งจะเก็บไว้ในหม้อ-ไหหินที่มีไม้ประกบอยู่ภายนอกและสุสานที่เก็บเครื่องใน ในหม้อหรือไหหินจะไม่มีช่องบริเวณผนังสุสานเจาะไว้สำหรับเก็บห่อเครื่องใน ดังในสมัยราชวงศ์ก่อน บางครั้งหม้อดินหรือไหหินใส่เครื่องในจะถูกเก็บไว้ในสถูปเล็กๆภายในสุสานเดียวกัน บางทีทำเป็นช่องตรงพื้นสุสาน ที่น่าสนใจคือ ไม่ว่าจะเป็นสถูปหรือช่องบนพื้นสุสาน จุดที่ตั้งนั้นจะอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงใต้เสมอ ซึ่งนักโบราณคดียังหาคำตอบในเรื่องนี้ไม่ได้

หลักการพิธีงานศพของศาสนาคริสตจักรเพื่อให้ถูกหลักของการจัดงาน

หลักการพิธีงานศพการจัดพิธีไว้อาลัยมีกำหนดไม่เกิน 3 วันในงานศพควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยควรรักษาความนบนอบ สามัคคีปรองดองและให้ความเคารพสถานที่ประเด็นที่ต้องปฏิบัติในการจัดงานศพเมื่อมีผู้เสียชีวิต ต้องรีบติดต่อแจ้งอาจารย์ของคริสตจักรทันที เพื่อปรึกษาหารือการจัดงานศพต่อไปปรึกษาหารือเกี่ยวกับพิธีไว้อาลัย และวันที่เคลื่อนศพไปฝังที่สุสานกำหนดมอบหมายผู้ที่รับผิดชอบการรับปัจจัยและพวงหรีดกระบวนการแจ้งการเสียชีวิตในกรณีการเสียชีวิตในโรงพยาบาล โรงพยาบาลนั้นจะออกหนังสือยืนยันเหตุแห่งการเสียชีวิต ให้นำหนังสือดังกล่าวไปแสดง ณ ที่ทำการเขตเพื่อรับใบมรณะบัตรในกรณีเสียชีวิตในบ้าน ให้ขอนายแพทย์ประจำตัวผู้ตายหรือนายแพทย์ที่เข้าใจเหตุแห่งการเสียชีวิตได้ ดี เป้นผู้ออกหนังสือยืนยันเหตุแห่งการเสียชีวิต ถ้าไม่สามารถปฎิบัติได้ให้ไปแจ้งความต่อพนักงาน สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อการชันสูตรศพ เมื่อได้รับหนังสือยืนยันปห่งการเสียชีวิตหรือใบชันสูตรศพแล้ว ให้นำเอกสารดังกล่าวไปแสดง ณ ที่ทำการเขตเพื่อรับใบมรณะบัตรสถานที่ตั้งศพให้ติดต่อคณาจารย์ของคริสตจักรการใดหรือสิ่งใดที่ขัดกับความเชื่อของคริสตชน หรือคำสอนในพระคริสตธรรมคำภีร์ห้ามนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับงานศพและสุสานสุสานฝังศพของคริสตจักรให้ติดต่อกรรมการสุสานของคริสตจักรญาติมิตรที่ไม่เป็นคริสตชนเสียชีวิต ควรไปร่วมงานศพเพื่อแสดงถึงความเอาใจใส่ของตริสตชนไม่จุดธูปและคุกเข่ากราบไหว้ผู้ตายไม่เข้าร่วมศาสนพิธีของศาสนาอื่นๆ ไม่ยอมรับการใดหรือการปฎิบัติใดที่ขัดกับความเชื่อตามหลักพระคริสตธรรมคัมภีร์

คริสตชนที่สังกัดต่างคริสตจักร แต่ได้มาร่วมนมัสการที่คริสตจักรแห่งนี้เป็นประจำไม่น้อยกว่า 1 ปี หากมีความประสงค์จะย้ายสมาชิกภาพ ควรปรึกษากับคณาจารย์คริสตจักรก่อน จากนั้นจึงติดต่อและแจ้งความจำนงไปยังคริสตจักรต้นสังกัดของตนเองเพื่อขอออก หนังสือโอนย้ายสมาชิกภาพเป็นลายลักษณ์อักษรให้นำหนังสือโอนย้ายสมาชิกภาพของคริสตจักรต้นสังกัด พร้อมกับกรอกแบบฟอร์มขอสมัครเป็นสมาชิกสมบูรณ์ โดยยื่นต่อคณาจารย์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจากศิษยาภิบาล และคณะผู้ปกครองต่อไปหลังจากได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากศิษยาภิบาลและคณะผู้ปกครองแล้วจึง สามารถเข้าพิธีรับโอนสมาชิกภาพอย่างเป็นทางการ โดยไม่ต้องเรียนหลักความเชื่อหรือรับบัพติศมาอีก

ความแตกต่างและความสำคัญของประเพณีการจัดงานศพของแต่ละศาสนา

13

ประเพณีงานศพ เมืองตรังมีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิมและชาวไทยเชื้อสายจีน  ประเพณีงานศพเมืองตรังจึงมีพิธีกรรมที่แตกต่างไปตามศาสนาและความเชื่อดั้งเดิม แต่มีบางอย่างทีเหมือนกันอันแสดงถึงความเป็นตรังชาวไทยพุทธท้องถิ่นมีกิจกรรมงานศพหลายขั้นตอน นับแต่วันตาย วันตั้งศพ วันฌาปนกิจศพ และวันหลังฌาปนกิจศพ เมื่อมีคนตายก็จะกระจายข่าวให้รู้กันทั่วไป บรรดาญาติมิตรผู้สนิทสนามรู้จักมักคุ้นกับญาติผู้ตาย ก็จะไปร่วมโดยจิตสำนึกว่า เพื่อนที่ดีจะเห็นกันเมื่อตายเมื่อมีผู้ตาย พิธีแรกคือ การเตรียมบรรจุโลง ด้วยการจัดศพผู้ตายให้นอนหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก จัดแต่งซองหมากพลูดอกไม้ ธูปเทียนให้ผู้ตายถือไว้แล้วคลุมด้วยผ้าจัดเตรียมโลงศพ อาบน้ำศพ แต่งตัวศพ นิมนต์พระภิกษุทำพิธีมัดตราสังและนำศพบรรจุโลง ซึ่งมีความเชื่ออยู่ว่า จะไม่บรรลุโลงในวันพุธ ถ้าวันตายเป็นวันพุธก็จะรอเวลาไว้ จนผ่านเที่ยงคืนไปแล้ว จึงบรรจุศพลงโลง

การจัดงานศพในสมัยก่อน เจ้าภาพต้องเตรียมการอยู่หลายวัน เตรียมสถานที่ปลูกโรงพิธี โรงเลี้ยง โรงครัว จัดหาฟืน สิ่งของต่าง ๆ ที่จะใช้ในงานไปบอกกล่าวญาติมิตรที่อยู่ห่างไกล ดังนั้นจึงนำศพใส่โลงค้างไว้ก่อน เมื่อถึงวันที่เหมาะสมซึ่งมักจะเป็นหน้าแล้ง ก็จะนำมาบำเพ็ญกุศล อาจจัดพิธีที่บ้านหรือที่วัดตามสะดวกปัจจุบันเมื่อบรรจุศพแล้วส่วนใหญ่จะจัดงานต่อเนื่องจนเผาเรียบร้อยในคราวเดียวชาวตรังนิยมตั้งศพบำเพ็ญกุศลหลายวัน โดยถือเอาวันฤกษ์ดีเป็นวันยกศพไปเผาหรือฝัง ซึ่งมักจะจัดงานศพให้เสร็จสิ้นในช่วงเดือนไม่นิยมจัดงานศพฉีกขาข้ามเดือน หลังจากยกศพขึ้นแล้วก็จะจัดเตรียมงานจนถึงวันสำคัญในสามวันสุดท้าย คือ วันเข้าทับวันเข้าการและวันเผาเมื่อเริ่มงานก็มีจัดการตกแต่งโลง  ตอนกลางคืนมีสวดพระอภิธรรม กลางวัน ทำบุญถวายสังฆทาน เตรียมอาหารไว้จัดเลี้ยงผู้มาฟังสวดและนั่งเพื่อนศพ  มีมหรสพตามฐานะเจ้าภาพ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ กาหลอ กลอนลาน เป็นต้น  ในวันเข้าทับอาจมีการจุดดอกไม้ไฟประเภท อ้ายตูม ตรวด เพื่อเป็นสัญญาณบอกข่าวการเตรียมงานศพ ในปัจจุบันที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ชาวตรัง คือ การพิมพ์ใบประกาศงานศพขนาดใหญ่ ปิดประกาศให้เพื่อนฝูงญาติมิตรทราบเพื่อจะได้มาร่วมงาน

กรรมวิธีมากมายของประเพณีงานศพที่สืบทอดต่อกันมา

4

ในประเพณีทั้งหลายที่มีสืบทอดกันมา จะขอกล่าวถึงประเพณีการทำศพที่เห็นว่ามีกรรมวิธีมากมายซึ่งอาจมีหลาย  ๆ  คนที่ไม่เข้าใจและทำตาม ๆ กันมาโดยไม่ทราบที่มาที่ไปของการกระทำนั้น  ๆ คำว่า “ศพ“ มาจากภาษาสันสกฤต ศวหมายถึงร่างคนที่ตายแล้วหรือซากผี มีคติความเชื่อว่ามีวิญญาณอยู่ในร่างกายคน เมื่อสิ้นลมหายใจ จะครบอายุขัยเพราะแก่ชรา  โดยภัยเบียดเบียนหรือเหตุใดก็ตามที เมื่อตายแล้ววิญญาณมี 3 ดวง เมื่อตายแล้วดวงหนึ่งจะเข้าไปสิงอยู่ในป้ายวิณญาณสำหรับลูกหลานเซ่นไหว้ในเวลาอันสมควร อีกดวงหนึ่งไปอยู่ที่หลุมฝังศพ สำหรับลูกหลานเซ่นไหว้เช่นกัน  อีกดวงหนึ่งไปยังยมโลกเพื่อรับรางวัลในบุญหรือรับโทษในบาปที่ตนก่อ อย่างไรก็ตามคนส่วนมากเชื่อกันว่าคนที่ตายไปแล้วนั้นตายแต่ร่างกายมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่ตายแต่เปลี่ยนร่างเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เรียกกันว่า ผี เป็นอมนุษย์มีทั้งผีดีและผีร้ายผีชั้นสูงที่เรียกกันว่าผีฟ้าที่เชื่อกันว่าอยู่บนสวรรค์ผีที่อยู่ในเมืองมนุษย์ ถ้าอยู่ตามหุบห้วยป่าดง เช่น เทพารักษ์เจ้าป่า เจ้าทุ่ง ถ้าอยู่ประจำท้องถิ่น สำหรับบ้านเรือนจะมีพระภูมิเจ้าที่ ผีเหย้าผีเรือน ผีปู่ย่า ตายาย ดังนั้นการทำศพจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับผีเกี่ยวกับผู้ตายจึงต้องมีพิธีกรรมเพื่อป้องกันผีไม่ให้มาทำคนเป็นเดือดร้อน

การอาบน้ำศพ คือการอาบน้ำชำระศพให้สะอาดเมื่ออาบน้ำแล้วต้องหวีผมหวีที่ใช้นั้นเมื่อเสร็จแล้วต้องหักทิ้ง ใช้ผ้าขาวนุ่งให้ศพโดยเอาชายพกไว้ข้างหลังเมื่อนุ่งห่มเช่นนี้แล้วให้นุ่งห่มตามธรรมดาทับอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเป็นปริศนาธรรมอธิบายได้ว่าคนเราเกิดมาตายแล้วเกิดใหม่ ทนทุกขเวทนาเวียนว่ายตายเกิดไม่จบสิ้น เมื่ออาบน้ำนุ่งผ้าหวีผมให้ศพเรียบร้อยแล้วจะต้องปิดหน้าศพ การปิดหน้าศพใช้ขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้ว กว้างยาวขนาดหน้าของศพ แผ่ปิดหน้าเหมือนปิดด้วยหน้ากากในราชสำนักถ้าเป็นพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดินจะใช้แผ่นทองปิดพระพักตร์ นอกจากนี้มีกรวยดอกไม้ ธูปเทียน ใช้ดอกไม้หนึ่งดอกเทียนหนึ่งเล่มใส่กรวยใบตองให้ศพพนมมือถือไว้ เพื่อนำไปไหว้พระจุฬามณีบนสวรรรค์ความเชื่อถือของคนแต่ก่อนซึ่งถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา ถ้าเอาความเห็นของคนถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมาถ้าเอาความเห็นเป็นการเชื่อถือกันอย่างเหลวไหลไม่มีเหตุผล ทั้งนี้เพราะเอาของใหม่ไปวัดของเก่าความเชื่อถือของคนในสมัยใดก็ย่อมต้องเป็นไปตามความต้องการของคนในสมัยนั้นเพราะจารีตประเพณีที่เกิดขึ้นต้องมีเหตุผลที่ถือกันว่าเป็นคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมจารีตประเพณีนั้นจะเสื่อมสลายไปหรือไม่อยู่ที่การแก้ไขให้เหมาะและแก้ไขเปลี่ยนแปลงพอกพูนกันเรื่อยมานับได้หลายชั่วอายุคนจนเกิดเป็นจารีตประเพณีในทุกวันนี้

การจัดงานศพแสดงความไว้อาลัยให้แก่การเสียชีวิตของบุคคลในครอบครัว

ประเพณีงานศพ คือ การปฏิบัติต่อผู้เสียชีวิตโดยญาติเป็นผู้บอกและเชิญให้ญาติพี่น้องคนอื่นๆ ตลอดจนมิตรสหายและผู้ที่นับถือทราบการจัดงานศพ พิธีจะเริ่มด้วยการอาบน้ำศพหรือรดน้ำลงที่มือศพเพื่อแสดงว่าเป็นการทำความสะอาดศพ ผู้ที่รดน้ำศพควรขอขมาต่อผู้เสียชีวิตด้วยหากเคยโกรธเคืองกันมาก่อน ต่อจากนั้นจึงเอาศพใส่โลงให้มิดชิด แล้วตั้งไว้ไม่เกิน 7 วันเป็นส่วนมาก เพื่อให้มีการสวดพระอภิธรรมและทำบุญให้ผู้เสียชีวิต จากนั้นจึงทำพิธีเผาศพและเก็บกระดูกไว้ในที่อันสมควร หากไม่เผาเพราะญาติพี่น้องไม่พร้อมก็จะเก็บไว้ในที่บรรจุที่วัดก่อน รอจนพร้อมแล้วจึงทำการเผาตามประเพณีไทย ผู้ที่ไปในงานศพควรแต่งกายไว้ทุกข์

งานศพ เป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อแสดงความไว้อาลัยให้แก่การสียชีวิตของบุคคล จะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ และศาสนาในท้องถิ่น บุลคลที่ทำประโยชน์ให้แก่สังคมจะได้รับพระราชทานเพลิศพ ซึ่งถือเป็นเกียรติต่อผู้เสียชีวิตและวงศ์ตรกูล ในงานศพจะมีระเบียบปฎิบัติหลายอย่าง ควรแต่งกายให้สุภาพให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิตการรดน้ำศพ ถือเป็นกาขอขมาโทษ นิยมรดน้ำศพเฉพาะท่านผู้ที่มีอายุมากกว่าเท่านั้น นิยมนำพวงหรีดไปด้วยเพื่อแสดงความไว้อาลัยและเป็นกำลังใจแก่ญาติผู้เสียชีวิต

การสวดศพ เจ้าภาพอาจจะใช้เวลา 5 วัน หรือ 7 วัน ตามความสะดวกและฐานะของเจ้าภาพ และนิมนต์พระสงฆ์ 4 รูป สวดศพอภิธรรมในการเผาศพ วันเผาศพนั้นจะต้องไม่ใช่วันศุกร์ วันพฤหัสบดี วันพระ วันเลขคู่ ในข้างขึ้น วันเลขคี่ในข้างแรม ในวันเผาศพจะมีการทำบุญและทำมาติกาบังสกุลก่อน จากนั้นก็จะเคลื่อนศพเวียนซ้าย 3 รอบ ยกขึ้นเชิงตะกอนหรือขึ้นเมรุ ผู้ที่มาร่วมงานศพจะนำดอกไม้จันทร์ที่เจ้าภาพแจกให้ขึ้นไปวางไว้ที่ฝาโลงศพ ซึ่งในพิธีการเผาศพจะมี 2 ช่วงคือ ช่วงแรกจะเรียกว่าการเผาหลอก คือพิธีการที่บรรดาญาติพี่น้องและแขกที่มาร่วมงานจะนำดอกไม้จันทน์ขึ้นไปวางไว้ แต่ยังไม่มีการจุดไฟจริง แต่พิธีการเผาจริงจะเป็นบรรดาญาติสนิทขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ และมีการจุดไฟเผาจริง