ทำบุญบริจาคโลงศพผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร

บริจาคโลงศพ

 

มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับอานิสงส์ของการบริจาคโลงศพ โดยส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นการทำบุญที่ได้บุญมาก ช่วยสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา สืบอายุ ช่วยให้พ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ จึงเป็นที่มาของความนิยมในการบริจาคโลงศพที่มีมากขึ้นในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางที่ก็เพียงแต่ซื้อโลงศพเพื่อบริจาคแล้วอธิษฐานแผ่เมตตาจิตถึงผู้เสียชีวิต บางที่จะมีการทำพิธีเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ เช่น การลงไปนอนบนฝาโลง นอนในโลง มีการทอดผ้าบังสุกุลและนิมนต์พระมาสวด เชื่อกันว่าจะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หายไปได้

แท้จริงแล้วนั้นการให้ทานทั้งหลายถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งในบุญกริยาวัตถุ 10 ปราการ ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญ มีความหมายหมายถึง สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความสุข ความเจริญ ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เป็นชื่อของธรรมะ ที่เป็นเหตุให้ กาย วาจา ใจ อยู่ในความดีงาม การทำบุญด้วยการบริจาคโลงศพ จึงเป็นบุญที่เกิดจากการให้ทานแก่ผู้เสียชีวิตที่ยากไร้หรือศพไร้ญาติผู้น่าเวทนา เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต และนี่ควรจะเป็นเจตนาที่แท้จริงของการบริจาคโลงศพ จึงจะทำให้ได้บุญมากอย่างที่เข้าใจกันได้

มีผู้รู้ได้วิจารณ์เกี่ยวกับอานิสงส์ของการบริจาคโลงศพด้วยความเชื่อในแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้

บริจาคโลงศพเพื่อช่วยเหลือผู้ตายที่ขัดสนยากไร้ หรือศพไร้ญาติ อย่างนี้เป็นบุญที่ทำด้วยความสงสาร และปรารถนาจะช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีธรรมะ คือ ความเมตตากรุณาเป็นปัจจัยให้บริจาคทาน ถือเป็นการทำบุญด้วยใจที่บริสุทธิ์

บริจาคโลงศพโดยการนอนบนฝาโลง ทอดผ้าบังสุกุล และนิมนต์พระมาสวดชักผ้าบังสุกุล ด้วยความเชื่อและคิดหวังให้เป็นการสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากร่างกาย และต่อชะตาสืบอายุให้มีโชคมีชัย เจริญก้าวหน้าในชีวิต

ประวัติศาสตร์ของความตาย มรดกของวิถีชีวิต สุสาน

มรดกถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอต่อการพิจารณาบทบาททางสังคมในอดีตเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ มรดกก่อให้เกิดภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ มรดกต่างจากประวัติศาสตร์ตรงที่ มีความประณีต มีเรื่องราวของการเฉลิมฉลอง และมีแค่มิติเดียว

สุสาน Bukit Brown เป็นสถานที่ฝังศพขนาดใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ เปิดเมื่อปี คศ1922 โดยรัฐบาลที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ ให้เป็นสุสานสาธารณะของคนจีน ต่อมาในปี คศ. พรรคกิจประชาชน หรือ ได้ลงมติยอมรรับ นโยบายเกี่ยวกับการฌาปณกิจ ว่าด้วยเรื่องการขาดแคลนพื้นที่ในสิงคโปร์ สุสาน Bukit Brown มีหลุมฝังศพประมาณ หลุมศพ แต่อนาคตของสุสานแห่งนี้กลับดูเลือนลางหลังยุคล่าอาณานิคมได้ผ่านพ้นไป

สุสาน Bukit Brown กลับมาเป็นประเด็นระดับชาติอีกครั้งในช่วง เดือนกันยายน คศ. 2011 เมื่อรัฐบาลประกาศโครงการก่อสร้างทางหลวงขนาดกว้าง ช่องจราจร ตัดผ่านพื้นที่ส่วนหนึ่งของสุสานแห่งนี้ เพื่อลดปัญหาการจราจรที่หนาแน่นในพื้นที่ นั่นหมายความว่า หลุมฝังศพกว่า แห่งได้ถูกทำลายไป ในปัจจุบัน สุสาน Bukit Brown มีความสำคัญลดลงไปกว่าเมื่อครั้งอดีต เนื่องจำนวนครอบครัวที่เดินทางไปแสดงความเคารพบรรพบุรุษของพวกเขา ในช่วงเทศกาล Qing Ming ชิงหมิง) มีปริมาณลดลง ทำให้หลุมฝังศพหลายแห่งถูกละเลยและอยู่ในสภาพที่ไม่รับการบำรุงรักษา บทบาทที่ถดถอยลงเป็นส่วนหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ของสุสานแห่งนี้

กลุ่มองค์กรประชาสังคมและสาธราณชนแสดงออกถึงความไม่พอใจ การตัดสินใจเกี่ยวกับสุสาน Bukit Brown นั้นปราศจากการพิจารณาที่เหมาะสม ผู้ให้การสนับสนุนด้านมรดก ไม่ว่าจะเป็นเครือขายประชาสังคมด้านมรดกของชาวสิงคโปร์ หรือ Singapore Heritage Society (SHS) ซึ่งเป็นกลุ่มเอ็นจีโอท้องถิ่น วิพากษ์วิจารณ์ว่า สุสานแห่งนี้ควรจะได้รับการ สงวนและรักษาไว้ เพราะเป็นสถานที่บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์และเอกลักษณ์ ของชาวสิงโปร์ หรือแม้แต่ the Nature Society ซึ่งเป็นกลุ่มเอนจีโอทีทำงานด้านสิ่งแวดล้อมก็แย้งว่า การพัฒนาในพื้นที่สีเขียวซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสาน Bukit Brown จะทำให้พื้นที่เสี่ยงต่อภาวะนํ้าท่วม และเป็นภัยอันตรายต่อสัตว์ป่า ในเวลาต่อมาทั้งสององค์กรนี้และกลุ่มเอ็นจีโออื่นๆ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการปรึกษาหารือให้กับเจ้าหน้าที่ของภาครัฐ ในขณะเดียวกันนักเคลื่อนไหวด้านมรดก ต่างก็ช่วยกันกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ธุรกิจท่องเที่ยว ผ่านสื่อสาธาราณะ ให้พยายามรักษาสุสาน Bukit Brown

การโต้แย้งเกี่ยวกับสุสานแห่งนี้ค่อยๆเงียบลง ในขณะที่โครงการก่อสร้างทางหลวงยังคงดำเนินต่อไปเมื่อภาครัฐเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มประสังคมโดยพิจารณาโครงการควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ของสุสาน