เกล็ดความรู้เกี่ยวกับผ้าม่าน

การตกแต่งบ้าน  นอกจากเฟอร์นิเจอร์เครื่องประดับบ้านต่างๆ แล้วอีกส่วนหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือ ผ้าม่าน โดยในปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาความสนใจในเรื่องสี ชนิดของผ้าและสไตล์ของห้องมากขึ้น ทำให้ผ้าม่านในปัจจุบันได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดที่ไม่หยุดนิ่ง โดยหน้าที่สำคัญของผ้าม่าน คือ ปิดบังสายตาจากคนภายนอกบ้าน และให้ความเป็นส่วนตัวแก่คนในบ้าน วันนี้ ilovepamaan.com เลยขอนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ผ้าม่าน เพื่อให้ทุกๆท่านได้ทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติและประโยชน์ของผ้าม่าน

ม่านจีบ Pleat Curtain

รูปแบบม่านจีบเป็นการตัดเย็บด้วยการจับหัวผ้าม่านมาเย็บทำให้เป็นจีบ 3จีบ สามารถเลือกผ้าที่จะนำมาตัดเย็บได้ทุกประเภท  เช่น ผ้าทึบแสง ผ้าโปร่ง สามารถทำม่าน 2 ชั้นได้ ม่านจีบสามารถใช้ได้กับรางโชว์และรางลูกล้อ ที่เป็นรางตัวเอ็ม หรือ รางตัวซี ซึ่งเป็นรางที่ใช้งานง่าย สะดวกในการดูแลรักษา ราคาไม่แพงเป็นที่นิยมใช้มากที่สุด ม่านจีบเป็นม่านสไตล์คลาสิกที่ดูเรียบง่ายสามารถใช้ตกแต่งได้กับทุกๆห้อง

ม่านคอกระเช้า Loops Curtain

รูปแบบม่านคอกระเช้าเป็นการตัดเย็บที่ทำได้ง่าย และการติดตั้งก็ทำได้ง่าย สามารถตกแต่งม่านเพิ่มเติมด้วยลูกเล่นต่างๆเช่น การเย็บติดกับกระดุม หรือทำโบว์ผูกติดผ้าม่าน ควรเลือกผ้าที่นำมาตัดเย็บมีสีในโทนเดียวกันกับราวม่าน และไม่มีลวดลายใดๆมากนัก จะเหมาะกับห้องที่ต้องการความเก๋ น่ารัก ดูเป็นลักษณะงานฝีมือ ม่านคอกระเช้าเป็นม่านที่ง่ายต่อการติดตั้งและดูและรักษาง่าย สามารถถอดผ้าม่านมาซักได้ง่าย

ม่านพับ Roman Curtain

รูปแบบม่านพับเป็นการตัดเย็บที่ต้องร้อยเชือกเพื่อการบังคับปิดเปิดขึ้นลงในแนวดิ่ง เป็นม่านที่ได้รับความนิยมมากเพราะความที่ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย มีลักษณะเป็นชั้นพับซ้อนทับกันเมื่อดึงม่านเปิดขึ้นด้านบน การเลือกผ้าควรเลือกผ้าสีพื้นหรือผ้าลายแถบ เหมาะกับห้องที่ต้องการตกแต่งแนวทันสมัย เน้นสีที่ดูเรียบ สบายตา สามารถตกแต่งได้กับทุกห้องหรือโถงบันได ม่านพับจำเป็นที่ต้องใช้คู่กับราง ที่เรียกว่ารางม่านพับตัวรางเป็นอลูมิเนียม อุปกรณ์ประกอบรางเป็นพลาสติก

 

ทำบุญบริจาคโลงศพผลที่ได้รับจะเป็นอย่างไร

บริจาคโลงศพ

 

มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับอานิสงส์ของการบริจาคโลงศพ โดยส่วนใหญ่เชื่อว่า เป็นการทำบุญที่ได้บุญมาก ช่วยสะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา สืบอายุ ช่วยให้พ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ จึงเป็นที่มาของความนิยมในการบริจาคโลงศพที่มีมากขึ้นในรูปแบบที่หลากหลายแตกต่างกันไป บางที่ก็เพียงแต่ซื้อโลงศพเพื่อบริจาคแล้วอธิษฐานแผ่เมตตาจิตถึงผู้เสียชีวิต บางที่จะมีการทำพิธีเพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ เช่น การลงไปนอนบนฝาโลง นอนในโลง มีการทอดผ้าบังสุกุลและนิมนต์พระมาสวด เชื่อกันว่าจะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัย ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้หายไปได้

แท้จริงแล้วนั้นการให้ทานทั้งหลายถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่งในบุญกริยาวัตถุ 10 ปราการ ซึ่งเป็นหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บุญ มีความหมายหมายถึง สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความสุข ความเจริญ ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เป็นชื่อของธรรมะ ที่เป็นเหตุให้ กาย วาจา ใจ อยู่ในความดีงาม การทำบุญด้วยการบริจาคโลงศพ จึงเป็นบุญที่เกิดจากการให้ทานแก่ผู้เสียชีวิตที่ยากไร้หรือศพไร้ญาติผู้น่าเวทนา เป็นการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิต และนี่ควรจะเป็นเจตนาที่แท้จริงของการบริจาคโลงศพ จึงจะทำให้ได้บุญมากอย่างที่เข้าใจกันได้

มีผู้รู้ได้วิจารณ์เกี่ยวกับอานิสงส์ของการบริจาคโลงศพด้วยความเชื่อในแบบต่าง ๆ ไว้ดังนี้

บริจาคโลงศพเพื่อช่วยเหลือผู้ตายที่ขัดสนยากไร้ หรือศพไร้ญาติ อย่างนี้เป็นบุญที่ทำด้วยความสงสาร และปรารถนาจะช่วยเหลือสงเคราะห์เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน มีธรรมะ คือ ความเมตตากรุณาเป็นปัจจัยให้บริจาคทาน ถือเป็นการทำบุญด้วยใจที่บริสุทธิ์

บริจาคโลงศพโดยการนอนบนฝาโลง ทอดผ้าบังสุกุล และนิมนต์พระมาสวดชักผ้าบังสุกุล ด้วยความเชื่อและคิดหวังให้เป็นการสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากร่างกาย และต่อชะตาสืบอายุให้มีโชคมีชัย เจริญก้าวหน้าในชีวิต

ธรรมเนียมการแต่งกายอันถือเป็นธรรมเนียมที่ถูกปฏิบัติสืบมา

การแต่งกายไว้ทุกข์ที่ถูกต้อง

ตามธรรมเนียมเก่าแก่ในเรื่องของการแต่งกายไว้ทุกข์ เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์สวรรคตนั้น เดิมทีมีระเบียบแบบแผนที่ยึดปฏิบัติกันมาช้านาน แต่ปัจจุบันถูกปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา และค่านิยมจากตะวันตก…

โดยสีของเสื้อผ้าจะเป็นเครื่องบ่งบอกสถานะ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียชีวิตและผู้แต่งกาย หากผู้เสียชีวิตมีศักดิ์ใหญ่กว่าเราผู้น้อยแต่งด้วยสีขาว…ในทางกลับกัน หากผู้เสียชีวิตมีศักดิ์น้อยกว่า ควรแต่งด้วยสีดำ

ต่อมา ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเป็นวงกว้าง การแต่งกายไว้ทุกข์จึงเปลี่ยนเป็นสีดำ หรือสีขาวดำ ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าว ถูกใช้เรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ซึ่งในการเข้าไป ประชาชนทั้งชายและหญิง ควรแต่งกายด้วยสีสุภาพ เช่น ขาว, ดำ, เทา และไม่ควรมีลวดลาย อย่านำเครื่องประดับที่เป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ของพระบรมวาศานุวงศ์ที่ยังมีชีวิตมาติดประดับบนเสื้อผ้า นับว่าเป็นสิ่งไม่สมควร ซึ่งสิ่งของอันเป็นมงคลไม่ควรอยู่กับสิ่งของที่ไม่เป็นมงคล ในกรณีที่ประชาชนจะร่วมถวายสักการะพระบรมศพนั้น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายควรยึดตามหลักสากล โดยผู้หญิงไม่ควรนุ่งกางเกง แต่ควรสวมใส่กระโปรงยาวคุมเข่า ไม่รัดรูป ไม่แขนกุด ไม่แฟชั่น ส่วนชายควรสวมใส่เสื้อเชิ้ตสีขาว เนคไทดำ กางเกงดำ

พิธีกรรมในงานศพไทย

รดน้ำ

 

พิธีรดน้ำศพ
ก่อนที่จะนำศพใส่โลงเมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้วจะนำศพมาทำพิธี ซึ่งพิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า “พิธีรดน้ำศพ” ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาดโรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไป

เมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพจากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ ท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับ

 

สวด

 

พิธีสวดอภิธรรม
งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า โดยปรมัตถธรรมแท้จริงแล้ว ชีวิตประกอบด้วยธรรมชาติ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นรูป คือ ร่างกาย อันประกอบด้วยธรรมชาติ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ (ธาตุ 4) กับส่วนที่เป็นนาม คือ จิตเจตสิก (ขันธ์ 5 : เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ถ้าเห็นสัจธรรมของชีวิตตามธรรมชาติด้วยปัญญาญาณย่อมบรรลุถึงพระนิพพาน การดับกิเลสคือการดับทุกข์ได้ ดังนั้นการสวดพระอภิธรรมในงานศพย่อมมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นความจริงของชีวิตตามธรรมชาติหรือธรรมดารวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ และการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน

ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่งพวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเองควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้ง

เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น
• หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
• หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
• หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
• หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ
• หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไปด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับจึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืน

การแต่งกายเข้าถวายสักการะพระบรมศพ

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81

หลังจากสำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาตให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

หลายคนอาจเกิดคำถามเกี่ยวกับเรื่องการแต่งกายอย่างไรให้เหมาะสมแก่การเข้าไปสักการพระบรมศพเบื้องหน้าพระบรมโกศ ทั้งยังเป็นการถวายพระเกียรติสูงสุดแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสำนักพระราชวังได้ออกประกาศเกี่ยวกับระเบียบการแต่งกายดังนี้ สำหรับการแต่งกายที่เหมาะสม คือ

 

สำหรับประชาชนทั่วไปให้ใช้สีดำล้วนเป็นการสุภาพที่สุด

การแต่งกายของพสกนิกรชาวไทยเพื่อแสดงความอาลัยต่อการสวรรคต ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ควรแต่งกายด้วยสีดำเป็นพื้นฐาน โดยใช้สีขาวหรือสีเทาสลับได้ ซึ่งสีดำล้วนถือว่าเป็นการแต่งกายที่สุภาพที่สุด

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81

รูปแบบเครื่องแต่งกายต้องสุภาพ

เสื้อผ้าควรมีรูปแบบที่สุภาพ เป็นสีพื้นไม่มีลวดลาย โดยหลักควรเป็นสีดำ แต่สามารถใส่สีขาวหรือสีเทาสลับได้ ไม่ควรใส่เสื้อกล้าม เสื้อแขนกุด เสื้อสายเดี่ยว เกาะอก เสื้อเปิดไหล่ เสื้อคอกว้างเกินไป หากจำเป็นต้องสวมใส่เสื้อที่เปิดไหล่ สามารถสวมผ้าคลุมสีดำคลุมทับ หรือสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคาร์ดิแกนสีดำทับได้เช่นกัน กางเกงไม่ควรเป็นกางเกงขาสั้น หรือกางเกงรัดรูป สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรใส่กระโปรงสั้น โดยกางเกงยีนส์สามารถสวมใส่ได้ แต่ต้องเป็นกางเกงยีนส์สีเข้ม ไม่ฟอกสี ไม่ขาด

%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%81%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%96%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%81

เสื้อที่มีตราสัญลักษณ์ถือเป็นการมิควร

สำหรับเสื้อดำที่มีตราสัญลักษณ์ประจำองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศนั้น ไม่ควรนำมาสวมใส่เพื่อแสดงความอาลัย ถือว่าเป็นการมิควรเนื่องจากไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต และถือว่าเป็นการผิดกาลเทศะ

 

ข้าราชการกรณีมิได้เข้าร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ

ข้าราชการชาย การแต่งกายทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ข้าราชการชายให้แต่งด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาวหรือสีดำ ผูกเนกไทสีดำ หากจะสวมเสื้อสูทหรือเสื้อคลุมให้ใช้สีดำ โดยอาจใช้ผ้าสักหลาดหรือผ้าโปร่งสีดำพันแขนเสื้อเบื้องบนได้ตามสมควร

ข้าราชการหญิง การแต่งกายทั่วไปในการปฏิบัติราชการ ข้าราชการหญิงให้แต่งกายสุภาพตามรัฐพิธี โดยให้ใช้เครื่องดำล้วน กรณีข้าราชการที่มีกฎหมายกำหนดไว้อย่างอื่นเป็นการเฉพาะ ก็ให้แต่งกายตามนั้น

ประเพณีการตายของชาวจีนในจังหวัดภูเก็ต

%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a8%e0%b8%9e%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b8%99

ชาวจีนให้ความสำคัญกับประเพณีการตายโดยเฉพาะพิธีศพของบุพการี ผู้เป็นบุตรหลานจะต้องจัดอย่างดีที่สุดเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตา มีความละเอียดซับซ้อนสะท้อนภูมิปัญญาเก่าแก่ เต็มไปด้วยสัญลักษณ์ เพื่อให้เกียรติแก่ผู้ตายและส่งผู้ตายไปยังภพภูมิที่ดี และบุตรหลานที่ยังมีชีวิตอยู่มีความเจริญรุ่งเรือง รักใคร่สามัคคีกัน เมื่อชาวจีนอพยพไปอยู่ที่ใดก็นำเอาขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติตนไปปฏิบัติ แม้ว่าชาวจีนที่เดินทางเข้าสู่ภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นฮกเกี้ยน การจัดพิธีศพเป็นไปตามแบบของชาวจีนฮกเกี้ยน แต่ก็มีขั้นตอนพิธีกรรมคล้ายคลึงกันกับชาวจีนภาษาอื่นๆ ต่างกันแต่รายละเอียดปลีกย่อย

การแต่งตัวให้ศพ

ชาวจีนนิยมจัดพิธีศพที่บ้านของผู้ตาย ลูกหลานจะอาบน้ำแต่งตัวและตั้งศพไว้ในบ้าน 1 คืน การแต่งตัวศพ ผู้ชายนิยมใส่ชุดท่อนบน(เสื้อ) 4 ตัว ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง 2 ตัว รวมกันเป็น 6ชิ้น ผู้หญิงนิยมใส่ชุดท่อนบน 4 ตัว ชุดท่อนล่างเป็นกางเกง 2 ตัว ชิ้นนอกสุดเป็นผ้าถุงหรือเป็นชุดกระโปรงแบบจีน รวมเป็น 7 ชิ้น (ผู้ชายเป็นคู่ผู้หญิงเป็นคี่) ชิ้นนอกสุดนิยมเป็นสีม่วงเข้มการสวมเสื้อ 4 ตัวนั้น คนจีนสมัยก่อนจะนิยมเย็บเสื้อของตัวเองเตรียมไว้สำหรับสวมในวันตาย โดยชั้นในสุดมักเป็นชุดขาว ชั้นนอกเป็นการแต่งกายให้ผู้ตายดูดีมีเกียรติที่สุด การสวมเสื้อผ้าให้ผู้ตายนั้นมีพิธีที่เรียกว่าโถ้ซ้า套衣โดยลูกชายคนโตต้องไปยืนบนเก้าอี้เตี้ยๆ ที่หน้าประตูบ้าน สวมหมวกสานไม้ไผ่ บนหมวกปักดอกกุหลาบแดง ตะเกียบ 12 คู่(เสียบบนหมวก) ยืนกางแขนหน้าบ้านถือเชือก(เพื่อเวลาถอดจะได้ดึงเชือกออกมาพร้อมกัน)ให้คนทำพิธีสวมเสื้อให้ทีละชิ้น เสร็จแล้วถอดเสื้อทั้งหมดออกพร้อมกัน จากนั้นลูกชายเดินออกมาแล้วขว้างหมวกขึ้นไปบนหลังคา แล้วจึงนำเสื้อไปสวมให้แก่ผู้ตาย “คนเป็นสวมกระดุมไว้ข้างหน้า คนตายสวมกระดุมไว้ข้างหลัง”หมายถึงการสวมเสื้อให้ผู้ตายจะสวมเอาด้านหลังของเสื้อมาไว้ด้านหน้า นอกจากเสื้อผ้าแล้วยังสามารถสวมหมวก รองเท้า ถุงมือให้ผู้ตายอย่างเต็มยศ และต้องวางมุก 1 เม็ดไว้ที่หน้าผากของผู้ตาย มุกเปรียบเหมือนแสงสว่างติดไว้ที่หน้าผากเพื่อนำทางหรือเปิดทางให้ผู้ตายเดินทางไปสู่ปรโลก (ชาวกวางตุ้งนิยมนำหยกใส่ลงไปในปากของผู้ตาย)

การแต่งหน้าศพสีสันบนร่างไร้วิญญาณ

เบื้องหลังความตายอาจเป็นมุมมองที่ไม่มีใครอยากสัมผัสแต่มีคนกลุ่มหนึ่งที่คอยแต่งแต้มสีสันลดความเศร้าหมองแห่งการสูญเสีย พวกเขาทำงานกับศพอย่างไร มีเทรนด์การแต่งหน้าหรือไม่ ต้อสุภาพร เอี่ยมวงศ์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเปาโลเมโมเรียล ดูแลงานภายในห้องไอซียูมาร่วม 13 ปี เล่าถึงการทำงานด้วยความรักและภูมิใจที่ได้บริการดูแลคนไข้จนถึงวินาทีสุดท้ายข  “ตอนมีชีวิตอยู่เราก็ดูแลเขาเป็นอย่างดี เมื่อคนไข้เสียชีวิตสิ่งสุดท้ายที่เราสามารถทำให้เขาได้คือการทำศพ ให้อยู่ในสภาพสวยงามที่สุดในวาระสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะการแต่งหน้าผู้เสียชีวิตจากที่หน้าซีดเซียว ให้ดูมีน้ำมีนวลมีสีสันเป็นธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งตรงนี้ต้องขออนุญาตญาติก่อนว่าอยากให้เราทำให้ไหม” ด้วยความเชื่อของคนไทยว่าจิตวิญญาณมีจริง ดังนั้นหากเสียชีวิตก็ควรให้สวมเสื้อผ้าสวยๆ แต่งตัวแต่งหน้าดูดีตอนจากไป

สุภาพร บอกว่าการแต่งหน้าให้ผู้เสียชีวิตก็เหมือนกับการแต่งหน้าคนทั่วไป แต่ต้องทำภายในเวลา 2 ชั่วโมงหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว โดยจะเน้นสีที่เป็นธรรมชาติ เรียบๆ สำรวม ดูแล้วเหมือนเป็นคนนอนหลับ สำหรับโทนสีในการแต่งหน้านั้น ขึ้นอยู่กับวัยและสีผิวของผู้เสียชีวิตด้วยถ้าหากเป็นคนผิวขาวหรืออายุยังน้อยจะเลือกใช้เครื่องสำอางสีชมพู หากเป็นคนผิวคล้ำหรือผิวสองสีจะเลือกใช้โทนสีส้มหรือสีน้ำตาล หรือหากเป็นผู้ชายการแต่งหน้าอาจมีเพียงการรองพื้นไม่ให้ผิวซีด ทาแป้ง และทาลิปมันหรือวาสลีนเท่านั้น

“เคยมีอยู่เคสหนึ่งที่อื่นเขาแต่งมาแบบตาสีเขียว ปากแดงแจ๊ด ญาติไม่พอใจเขาเลยอยากให้เราช่วยแก้แต่เราไม่ได้รับทำงานนี้ คือเราดูแลคนไข้ที่โรงพยาบาลเมื่อเสียเราก็ช่วยแต่งให้ฟรีๆ ไม่ได้คิดเพิ่ม ไม่ใช่นโยบายของที่นี่ แต่เราเต็มใจทำให้ ซึ่งนอกจากเรื่องความเชื่อแล้วงานศพของไทยยังมีการรดน้ำศพ การแต่งหน้าจึงมีบทบาทมากขึ้นและมีมานานแล้ว เริ่มแรกสมัยก่อนจะมีแต่ตามโรงพยาบาลเอกชน แต่เดี๋ยวนี้ที่ไหนก็ต้องมี”

สำหรับขั้นตอนการทำศพเบื้องต้น อย่างแรกที่ทำคือ “การอาบน้ำ” เป็นการอาบน้ำ ฟอกสบู่ สระผม เช็ดตัว และเป่าผมให้แห้งด้วยไดร์บนเตียงที่คนไข้เสียชีวิต  จากนั้นจะให้ญาติเลือกเครื่องแต่งกายของผู้เสียชีวิตมาอาจเป็นชุดสวยที่สุดหรือชุดโปรดของผู้ตาย หากเป็นครอบครัวเชื้อสายจีนอาจมีการสวมชุดทับกันตั้งแต่ 3-7 ชั้นตามธรรมเนียมจีน

ขั้นตอนต่อไปคือ “การแพ็กศพ” หมายถึงการใช้สำลีแห้งปิดช่องทวารทั้ง 5 ปาก จมูก หู ทวารหนัก ช่องคลอด ก่อนใส่เสื้อผ้าใหม่และเริ่มขั้นตอน “การแต่งหน้า” เริ่มตั้งแต่การหวีผมรวบไว้ให้เรียบร้อย จากนั้นต้องทาครีมรองพื้น เกลี่ยให้เสมอกันแล้วทาแป้งให้ผิวหน้าเนียน แล้วจึงทาตา ปัดแก้ม ทาปาก ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%97

10 สิ่งข้อควรรู้ เตรียมความพร้อมก่อนไปงานศพ

8426005_orig

  1. พกกิ่งทับทิมใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อขณะอยู่ในงาน

​ชาวจีนโบราณเชื่อว่าถ้าพกกิ่งทับทิมไปงานศพจะป้องกันเราจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ที่อยู่ในงาน

  1. เตรียมน้ำที่มีใบทับทิมไว้ล้างหน้า

​เราควรล้างหน้าหลังจากกลับจากงานศพเพื่อกันไม่ให้วิญญาณคนตายตามเราเข้ามาบ้าน

  1. นำเข็มกลัดมากลัดไว้ที่เสื้อหรือชุดคลุมท้อง

​หากสุภาพสตรีท่านใดกำลังตั้งครรภ์ ให้นำเข็มกลัดมากลัดไว้ที่เสื้อหรือชุดคลุมท้องเพื่อป้องกันสิ่งเร้นลับทั้งหลายที่สามารถมาทำอันตรายเด็กได้ นอกจากนี้โบราณยังเชื่อว่าหากนำเข็มกลัดมากลัดจะป้องกันเด็กหลุดอีกด้วย

  1. พกมีดขณะอยู่ในงานศพ

​เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ ขณะที่อยู่ในงาน

  1. ห้ามลอดมองใต้หว่างขา

​การมองลอดใต้หว่างขาไปยังโลงศพไม่ควรทำเพราะจะเห็นคนตาย

  1. อย่าชมพวงหรีดว่าสวย

​แม้ว่าพวงหรีดในงานจะสวยแค่ไหนก็ตาม อย่าชมมันเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะมีงานศพตามมาอีก

  1. คนที่กำลังไม่สบายไม่ควรไปงานศพ

​เพราะกำลังมีดวงจิตที่อ่อนแอ วิญญาณและสิ่งอัปมงคลต่างๆ จะถือโอกาสเกาะติดกลับมาบ้านด้วย

  1. ไม่ควรร้บประทานอาหารและเครื่องดื่มในงานศพ

​หากใครที่ดวงชะตาไม่ดีหรือเป็นปีชงไม่ควรรับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มในงานศพ เพราะสิ่งชั่วร้ายต่างๆ จะเข้ามาทำร้ายเราผ่านทางอาหารและเครื่องดื่ม

  1. ห้ามหยิบดอกไม้จันทน์ส่งต่อกันในงานศพ

​เพราะการยื่นดอกไม้จันทน์ให้กันนั้นคือการหยิบส่งให้คนตาย ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนกับการไปแช่งให้ผู้รับตาย

  1. ที่สำคัญอย่าลืมนำ “พวงหรีด” ไปงานศพ

​ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สากลในการไว้อาลัยไปงานศพ เพราะนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความเสียใจต่อเจ้าภาพและญาติมิตรของผู้ที่เสียชีวิตแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อเทวดาซึ่งจะนำพาดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตไปสู่สวรรค์อีกด้วย

การเข้าร่วมพิธีศพของคนญี่ปุ่น

Late Nintendo President Satoru Iwata Funeralพิธีฝังศพประเทศญี่ปุ่นมีความเชื่อในศาสนาพุทธแบบชินโต คือจะทำในแบบของศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่กว่า 90% หลังจากมีผู้ที่เสียชีวิตจะนำน้ำมาล้างปากของผู้ตาย สำหรับสถานที่นั้นจะมีการจัดตั้งโต๊ะที่ประดับไว้ด้วยดอกไม้ ,ธูป หรือเครื่องหอมและเทียนใกล้กับร่างของผู้เสียชีวิต และจะมีการนำมีดมาวางไว้บนหน้าอกของผู้ตายเพื่อเป็นขับไล่วิญญาณร้าย หรือสิ่งไม่ดีไม่ให้มายุ่งกับร่าง หลังจากนั้นญาติและคนทำพิธีจะมีการมอบใบประกาศการตาย เป็นพิธีที่เทียบได้กับพิธีบรรจุศพลงในโลงของศาสนาคริสตร์ ได้แก่การอยู่ข้ามคืนเป็นเพื่อนกับผู้ตาย ซึ่งบรรดาคนในครอบครัว ญาติสนิท มิตรสหาย หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อกับผู้ตายจะอยู่ข้ามคืนพร้อมกันหน้าศพก่อนจะทำการบรรจุหรือทำพิธีต่อไป แท่นบูชาในงานศพนั้นจะเป็นหน้าที่ของผู้ที่รับจัดพิธีเป็นผู้ประดับประดาให้ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ซึ่งผู้ที่มีอาชีพจัดงานศพนี้จะจัดการให้ตั้งแต่เริ่มพิธีจนกระทั่งส่งมอบอัฐิ

หลังจากบรรจุศพลงในโลงแล้ว ผู้ร่วมพิธีจะทำการไว้อาลัยและทำพิธีกล่าวอำลาครั้งสุดท้ายให้แก่ผู้เสียชีวิต บางครั้งพิธีศพอาจจะทำกันเป็นการภายในเฉพาะคนในครอบครัวและญาติสนิทเท่านั้น โดยผู้ร่วมพิธีทั่วไปจะเข้าร่วมเฉพาะพิธีกล่าวอำลาเท่านั้น เมื่อพิธีกล่าวอำลาเสร็จสิ้นก็จะนำศพไปเผายังฌาปนสถาน และในวันรุ่งขึ้นจะเก็บอัฐิเพื่อนำกลับบ้านหรือนำไปฝังต่อไป หลังจากจบงานศพจะต้องมีการจัดการเรื่องต่างๆ เช่นเงินบริจาค, รายชื่อผู้บริจาคเงิน, สมุดจดรายละเอียดแขกผู้มีเกียรติ, ดอกไม้และสิ่งของที่ทางแขกเป็นผู้บริจาค, จดหมายหรือข้อความที่ทางแขกที่ไม่สามารถมาร่วมงานได้ส่งมา, ค่าใช้จ่ายต่างๆ, ค่าใช้จ่ายที่ทางบริษัทออกให้ก่อน, เงินทำบุญบริจาคแก่พระสงฆ์, เงินหรือสิ่งของสำหรับขอบคุณผู้ที่ช่วยเหลือ, ของชำร่วย, การไปขอบคุณเพื่อนบ้าน, พิธีครบรอบสี่สิบเก้าวัน, พิธีครบรอบวันตายและอื่นๆ

การไปร่วมพิธีศพ
• เสื้อผ้าสำหรับไปร่วมงานศพ ผู้ชายจะใส่สูทสีดำ เสื้อเชิ้ตสีขาว เนกไทสีดำ ส่วนผู้หญิงจะใส่เดรสสีดำทั้งชุด การแต่งตัวต้องสุภาพเพราะถือเป็นการให้เกียรติผู้เสียชีวิตเป็นครั้งสุดท้าย
• สิ่งที่นำติดตัวไปด้วยคือ ลูกประคำ สำหรับคล้องมือเวลาฟังพระสวดมนต์ และซองเงินช่วยซึ่งจะใส่เงินช่วยเป็นเลขคี่ ตั้งแต่ 3,000 – 30,000 เยน หรือมากกว่านั้นตามกำลังทรัพย์
• เมื่อเข้าไปในงานควรไปลงนามในสมุดร่วมงานที่เจ้าภาพจัดเตรียมไว้พร้อมกับยื่นซองเงินช่วยให้ และไม่ควรพูดเสียงดัง ควรพูดด้วยเสียงค่อยๆเพื่อเป็นการแสดงความเสียใจ

การจัดการพิธีกรรมในงานศพในถูกต้อง

6ความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเจอกันอยู่แล้ว ซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเกรงกลัวกับความตายที่จะเกิดขึ้นแต่สิ่งที่ควรคำนึงคือการกระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรพิจารณาว่าเราได้ประกอบคุณงามความดีและสร้างบุญกุศลเอาไว้ได้มากน้อยแค่ ไหนในช่วงที่มีโอกาสเหลืออยู่ การบอกทางเมื่อเชื่อแน่ว่าผู้ป่วยต้องถึงแก่กรรมหรือมีการบอกให้ทราบว่าจะถึงแก่กรรมในระยะอันใกล้นี้แล้ว ผู้พยาบาลต้องจัดหาดอกไม้ธูปเทียนใส่กรวยใบตองให้ผู้ตายถือไว้และบอกให้รำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์กับให้ทำใจให้สงบไม่กระวนกระวายเพื่อว่าให้ผู้ตายได้ตายด้วยความสงบทั้งทางร่างกายและจิตใจจริง ๆ

การปฏิบัติเมื่อตายแล้วเมื่อสิ้นลมหายใจให้จุดเทียนไว้ข้างศพ โดยใช้เทียนขี้ผึ้งมีไส้ 7 ไส้ เมื่อเทียนเล่มนั้นจุดหมดดับแล้ว ผู้ตายไม่ฟื้นขึ้นก็เชื่อได้ว่าตายแน่แล้ว ถ้าเอาศพเข้าโลงไม่ทันต้องเอาไว้ข้ามคืน ให้เอาผ้าคลุมศพไว้ และอยู่ตามไฟ กับระวังอย่าให้แมวกระโดดข้าม เพราะถือกันว่าผีจะแรง การอาบน้ำศพ ก่อนเอาศพใส่โลงต้องทำพิธีอาบน้ำศพเสียก่อน ตอนแรกอาบด้วยน้ำอุ่น แล้วอาบด้วยน้ำเย็นฟอกศพด้วยผิวมะกรูดแล้วล้างให้สะอาด เช็ดถูให้แห้งแล้วตำขมิ้นชันสดกับผิวมะกรูดขัดให้ทั่วอีกทีหนึ่ง แล้วแต่งตัวศพด้วยเสื้อผ้าใหม่ ถ้าจะมีการรดน้ำศพอีกก็เอาศพขึ้นวางบนเตียงจับแขนข้างหนึ่งให้ทอดออกมาผู้มารดน้ำศพก็เอาน้ำหอมหยดลงที่ฝ่ามือของศพ อธิษฐานในใจให้อโหสิกรรมที่อาจจะมีอยู่แก่กันเสีย

การเอาศพใส่โลงก่อนเอาศพใส่โลงให้ตำหมากใส่ในปากศพคำหนึ่ง แล้วหาเงินบาทหรือแหวนทองคำใส่ลงไปในปาก เอาขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้วกว้างพอดีกับหน้าของศพปิดหน้าศพไว้เพื่อกันอุจาดนัยน์ตา เอากรวยดอกไม้ธูปเทียนใส่มือ แล้วตราสังข์ศพด้วยผ้าขาว ยกไปวางในโลง ปิดฝาโลงให้เรียบร้อย การตั้งศพทำบุญ การตังศพทำบุญจะทำที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตอนค่ำมีการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมเป็นประจำทุกคืนจนกว่าจะถึงวันกำหนดทำพิธีเผาหรือเก็บศพไว้เผาทีหลัง การเผาศพเมื่อถึงวันเผาศพยกศพไปตั้งในศาลานิมนต์พระมาสวดบังสุกุลถ้ามีเทศน์ก็เทศน์เสียก่อนบังสุกุล หามโลงเวียนเชิงตะกอน 3 รอบแล้วเอาขึ้นตั้งบนเชิงตะกอนให้พระจุดไฟเผาก่อนคนไปร่วมด้วยจึงจุดไฟเผาทีหลังในตอนนี้อาจจะมีการสวดหน้าไฟด้วยก็ได้การเก็บกระดูกศพมักเผาในตอนเย็นรุ่งเช้าจึงมีการเก็บกระดูกและนิมนต์พระมาตักบาตรปากหลุม เป็นเสร็จพิธี

การทำศพของคนสมัยก่อนที่ไม่มีให้เห็นแล้วในสมัยนี้

4

ในยุคนี้ที่ความเชื่อไม่ค่อยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยมากมายเหมือนเมื่อก่อนพิธีกรรมต่าง ๆ ที่คนโบราณเคยถือปฏิบัติกันมา ก็ดูเหมือนจะถูกกลืนหายไปกับกาลเวลาทุกวัน ทุกวันด้วยความคิดของคนที่เปลี่ยนไป และเห็นว่าพิธีกรรมเดิม ๆ ที่เคยทำกันมานั้นแสนจะยุ่งยากมากความซะเหลือเกินและพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพก็คงเป็นหนึ่งในนั้นนั่นแหละค่ะเพราะสมัยนี้เวลามีคนตายเมื่อไหร่วัด ก็ดูเหมือนจะเป็นสถานที่ที่รับหน้าที่ทำศพไปอย่างไม่ต้องสงสัย แต่อย่าได้เอาไปเทียบกับสมัยก่อนเชียวนะคุณ ๆ  เพราะสำหรับคนโบราณแล้วกว่าจะถึงขั้นตอนการเผาศพหรือฝังศพได้เนี่ย ก็ต้องทำนู่นนี่อีรุงตุงนังมากมายเลยทีเดียวค่ะแต่ขั้นตอนของการทำศพในสมัยก่อนจะต้องทำอะไรบ้างก่อนหลัง คงไม่ขอพูดถึงดีกว่าเพราะมันคงยาวยืดไปหลายตอนเลยทีเดียวเอาเป็นว่าเอนทรี่นี้ขอหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับการทำศพของคนสมัยก่อนที่ไม่มีให้เห็นแล้วในสมัยนี้มาเล่าให้เด็กสมัยใหม่ฟังกันดีกว่าว่าแล้วก็ไปดูกันว่า พิธีกรรมการทำศพที่เลือนหายไปแล้วน่ะมีอะไรบ้าง

เงินปากผีสมัยก่อนคนโบราณจะนำเงินพดด้วงผูกเชือกใส่ไว้ในปากศพ ด้วยความเชื่ออยู่ 3 อย่างค่ะหนึ่ง คือ เป็นปริศนาธรรมว่าคนตายไปแล้ว แม้แต่เงินทองก็เอาไปไม่ได้ สอง คือ เป็นค่าจ้างให้กับสัปเหร่อ เพราะเจ้าภาพต้องวุ่นอยู่กับการต้อนรับแขก ไม่มีเวลาเอามาให้สัปเหร่อโดยตรง เลยเอาเงินค่าจ้างใส่ปากศพไว้ให้สัปเหร่อล้วงเอาไปนั่นแหละสาม คือ เป็นค่าจ้างสำหรับผู้นำดวงวิญญาณของคนตายไปสู่โลกของวิญญาณหมากปากผี คนโบราณจะตำหมากใส่ปากศพเพื่อเป็นปริศนาธรรมว่า นอกจากคนตายจะเอาทรัพย์สินไปไม่ได้แล้ว แม้แต่หมากที่คนโบราณชอบเคี้ยวกันทุกวัน พอตายไป ต่อให้ป้อนให้ก็ไม่สามารถเคี้ยวได้อีกต่อไปเหมือนกันอาบน้ำศพ คำว่าอาบน้ำศพของคนโบราณ คือการอาบน้ำทั้งตัวเลยค่ะ โดยจะต้มน้ำแล้วใส่สมุนไพรต่าง ๆ ลงไป จากนั้นรอให้น้ำอุ่นก่อนค่อยเอามาอาบน้ำให้ศพ แล้วค่อยอาบด้วยน้ำเย็นอีกครั้ง ก่อนฟอกด้วยขมิ้นชันเป็นอันเสร็จพิธีส่วนพิธีรดน้ำที่มือศพที่หลายคนเรียกกันว่าอาบน้ำศพในสมัยนี้ ต้องเรียกว่า รดน้ำศพ ถึงจะถูกค่ะ ประตูป่า ก็คือประตูที่ทำเพื่อเอาศพออกโดยเฉพาะ ซึ่งสมัยก่อนคนโบราณจะรื้อฝาบ้านแล้วเอากิ่งไม้มาปักไว้แล้วรวบเป็นซุ้ม แล้วค่อยนำศพออกจากบ้าน โดยเอาปลายเท้าศพออกก่อน เพื่อไม่ให้ศพเห็นบ้านได้ ซึ่งพอเอาศพออกไปแล้ว เค้าก็จะรื้อประตูป่าทิ้งทันที แล้วปิดฝาบ้านที่ทำแบบนี้ เพราะเชื่อว่าวิญญาณคนตายจะหาทางเข้าบ้านไม่ได้นั่นเอง

จิตอาสาช่วยเหลืองานศพในชุมชน สร้างความสามัคคี มีน้ำใจต่อสังคม

ในปัจจุบันพิธีงานศพที่จัดขึ้นแต่ละครั้ง พบว่าค่าใช้จ่ายในการจัดงานแต่ละครั้ง ต้องใช้เงินจำนวนไม่น้อย จนเกิดปัญหากับชาวบ้านหรือผู้ยากจนฐานะทางการเงินไม่ดี ประกอบกับการจัดงานต้องว่าจ้างแรงงานหรือผู้ที่จะมาช่วยงานในราคาค่อนข้างสูง จึงเกิดประกายของกลุ่มเด็กนักเรียน โรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ ต.ไผ่ขอดอน อ.เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดแรกและจุดเริ่มต้น ที่มองเห็นความสำคัญของการจัดพิธีงานศพของคนในชุมชน ปัญหาที่ต้องหาเงินจำนวนมากมาจัดงานศพ ทำให้ชาวบ้านที่ยากจนไม่สามารถดำเนินการได้ครบสมบูรณ์ หรือไม่สามารถจัดงานศพได้ดีเท่าที่ควร จึงเกิดมีโครงการจิตอาสาช่วยเหลือคนยากจนและงานศพในท้องถิ่น โดยมีกลุ่มจิตอาสาจากเด็กนักเรียนโรงเรียนโรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ เข้าไปช่วยเหลือในการจัดงานศพ ครั้งละ 7-15 ตามความเหมาะสม โดยแบ่งกันทำหน้าที่ อาทิ เตรียมของชำร่วย บริการเสริฟน้ำดื่ม แจกดอกไม้จันทน์ ถือพานผ้าบังสุกุล ช่วยจัดเก็บสถานที่ พร้อมทั้งนำวงดุริยางค์ของโรงเรียนมาร่วมบรรเลงเพลงพญาโศก ช่วงพิธีฌาปนกิจศพ ตลอดทั้งมีการตั้งกองทุนบริจาคช่วยเหลืองานศพจากผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ

วัตถุประสงค์ของโครงการจิตอาสาช่วยเหลือคนยากจนและงานศพในท้องถิ่น เพื่อสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรม ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา คือ อิทธิบาท 4 และหลักคุณธรรม 4 ประการ เพื่อให้จิตอาสารู้จักการช่วยเหลือบุคคล ในสังคมที่กำลังได้รับความทุกข์และความเดือดร้อน สร้างความสามัคคีในเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ส่งเสริมให้นักเรียนมีจิตสำนึกในการทำความดี ให้รู้จักการเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ มีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนร่วม การทำงานร่วมกัน และให้มีทักษะในการทำงาน

การทำงานของกลุ่มนักเรียนจิตอาสา ได้รับการสนับสนุนจาก นายสมชาย ภัทรวิวัฒนพงศ์ ผอ.โรงเรียนชุมชนที่ 11 วัดสุวรรณประดิษฐ์ โดยมีพระครูพิพัฒน์สุวรณประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณประดิษฐ์ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งจะมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนจิตอาสาในการทำงานแต่ละหมู่บ้าน ไปสำรวจหาผู้สูงอายุ โดยใช้เวลาหลังเลิกเรียนและวันเสาร์อาทิตย์ นำเข้าที่ประชุมสมาชิกจิตอาสา หาแนวทางแก้ไขปัญหา พร้อมนำเสนอครูที่ปรึกษาและผู้บริหาร และดำเนินการตามขั้นตอนของงาน ตลอดเวลาที่กลุ่มนักเรียนจิตอาสาได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือสังคม ปรากฏว่าได้รับความชื่นชมและยกย่องในความเสียสละเวลาของนักเรียนกลุ่มจิตอาสา ที่ได้เข้าช่วยเหลืองานศพและคนยากจนในพื้นที่ ทำให้พิธีงานศพสำเร็จลุล่วงผ่านไปด้วยดีทุกงาน

ข้อมูลดีๆเกี่ยวกับพิธีทำศพซึ่งทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

7

การบอกทาง เมื่อเชื่อแน่ว่าผู้ป่วยต้องถึงแก่กรรม หรือมีการบอกให้ทราบว่าจะถึงแก่กรรมในระยะอันใกล้นี้แล้ว ผู้พยาบาลต้องจัดหาดอกไม้ธูปเทียนใส่กรวยใบตองให้ผู้ตายถือไว้ และบอกให้รำลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ กับให้ทำใจให้สงบ ไม่กระวนกระวาย เพื่อว่าให้ผู้ตายได้ตายด้วยความสงบทั้งทางร่างกายและจิตใจจริง ๆ การปฏิบัติเมื่อตายแล้ว เมื่อสิ้นลมหายใจ ให้จุดเทียนไว้ข้างศพ โดยใช้เทียนขี้ผึ้งมีไส้ 7 ไส้ เมื่อเทียนเล่มนั้นจุดหมดดับแล้ว ผู้ตายไม่ฟื้นขึ้นก็เชื่อได้ว่าตายแน่แล้ว ถ้าเอาศพเข้าโลงไม่ทันต้องเอาไว้ข้ามคืน ให้เอาผ้าคลุมศพไว้ และอยู่ตามไฟ กับระวังอย่าให้แมวกระโดดข้าม เพราะถือกันว่าผีจะแรง การอาบน้ำศพ ก่อนเอาศพใส่โลงต้องทำพิธีอาบน้ำศพเสียก่อน ตอนแรกอาบด้วยน้ำอุ่น แล้วอาบด้วยน้ำเย็น ฟอกศพด้วยผิวมะกรูดแล้วล้างให้สะอาด เช็ดถูให้แห้งแล้วตำขมิ้นชันสดกับผิวมะกรูดขัดให้ทั่วอีกทีหนึ่ง แล้วแต่งตัวศพด้วยเสื้อผ้าใหม่ ถ้าจะมีการรดน้ำศพอีก ก็เอาศพขึ้นวางบนเตียง จับแขนข้างหนึ่งให้ทอดออกมา ผู้มารดน้ำศพก็เอาน้ำหอมหยดลงที่ฝ่ามือของศพ อธิษฐานในใจให้อโหสิกรรมที่อาจจะมีอยู่แก่กันเสีย

การเอาศพใส่โลง ก่อนเอาศพใส่โลงให้ตำหมากใส่ในปากศพคำหนึ่ง แล้วหาเงินบาทหรือแหวนทองคำใส่ลงไปในปาก เอาขี้ผึ้งหนาประมาณครึ่งนิ้วกว้างพอดีกับหน้าของศพปิดหน้าศพไว้เพื่อกันอุจาดนัยน์ตา เอากรวยดอกไม้ธูปเทียนใส่มือ แล้วตราสังข์ศพด้วยผ้าขาว ยกไปวางในโลง ปิดฝาโลงให้เรียบร้อย การตั้งศพทำบุญ การตังศพทำบุญจะทำที่บ้านหรือที่วัดก็ได้ตอนค่ำมีการนิมนต์พระมาสวดพระอภิธรรมเป็นประจำทุกคืนจนกว่าจะถึงวันกำหนดทำพิธีเผา หรือเก็บศพไว้เผาทีหลังการเผาศพ เมื่อถึงวันเผาศพยกศพไปตั้งในศาลา นิมนต์พระมาสวดบังสุกุล ถ้ามีเทศน์ก็เทศน์เสียก่อนบังสุกุล หามโลงเวียนเชิงตะกอน 3 รอบแล้วเอาขึ้นตั้งบนเชิงตะกอน ให้พระจุดไฟเผาก่อนคนไปร่วมด้วยจึงจุดไฟเผาทีหลัง ในตอนนี้อาจจะมีการสวดหน้าไฟด้วยก็ได้ การเก็บกระดูก ศพมักเผาในตอนเย็น รุ่งเช้าจึงมีการเก็บกระดูก และนิมนต์พระมาตักบาตรปากหลุม เป็นเสร็จพิธี

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือของคนล้านนา

15

ประเพณีวัฒนธรรมของคนล้านนาเมื่อมีคนตายจะต้องจัดพิธีงานศพขึ้นเพื่อเป็นการ ไว้อาลัยแก่คนตายอย่างสมเกียรติ พิธีงานศพของคนล้านนาจะมีการจัดแต่งปราสาทใส่ศพประดับประดาด้วยดอกไม้สดหรือ แห้งให้แลดูสวยงาม นับว่าเพื่อเป็นการยกย่องผู้ตายให้ได้ขึ้นไปสู่สรวงสรรค์ชั้นฟ้าปราสาทงานศพจะนิยมใช้ในพิธีงานศพของจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือเท่านั้น สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัฒนธรรมที่รับมาจากเมืองเชียงรุ้งแห่งสิบสองปันนา ซึ่งถือว่าเป็นต้นตระกูลไทแต่ดั่งเดิมรูปแบบของปราสาทงานศพมีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ ปราสาทที่ทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นวัสดุดั่งเดิมส่วนใหญ่ทำมาจากไม้ฉำฉา เพราะมีน้ำหนักเบาและเวลาเผาจะไหม้ไฟได้ง่าย ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งจะเป็นวิวัฒนาการของปราสาท สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ โดยจะนำโต๊ะ เก้าอี้มาประดับในปราสาท เมื่อเวลาเผาศพแล้วก็จะนำโต๊ะ เก้าอี้เหล่านั้นไปมอบถวายให้กับวัดเพื่อใช้ในสาธารณประโยชน์ต่อไป

ขั้นตอนการทำพิธีศพของคนในภาคเหนือนั้น เมื่อมีคนตายขึ้น ทางบ้านโดยลูกหลานหรือญาติพี่น้องก็จะรีบไปติดต่อซื้อโลงศพและปราสาททันที การตั้งศพจะประกอบด้วยโลงศพมีการประดับประดาด้วยไฟสีหรือไฟกะพริบอย่างสวย งาม ก่อนที่จะนำโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท จะมีการทำพิธีกรรมทางสงฆ์คือการทานปราสาทเสียก่อน โดยจะนิมนต์พระสงฆ์มาเป็นผู้ทำพิธีก่อนที่ชาวบ้านและบรรดาลูกหลานของคนตายจะ ช่วยกันยกโลงศพขึ้นบรรจุบนปราสาท ซึ่งพิธีทาน ประสาทมักจะกระทำก่อนวันเผา 1 วันในพิธีงานศพแถบหมู่บ้านรอบนอกจะนิยมจ้างวงดนตรีบรรเลงปี่พาทย์ หรือ วงสะล้อซอซึง มาเล่นประกอบพิธีศพกันอย่างครึกครื้น การสวดศพส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสวด 3 – 5 วันนิยมตั้งศพไว้ที่บ้าน นิมนต์พระสงฆ์ไปสวดที่บ้าน แต่ปัจจุบันความนิยมดังกล่าวลดลงจะมีให้เห็นและเหลืออยู่ก็เพียงชาวบ้านที่ อยู่ในชนบท ที่มีบริเวณบ้านกว้างขวางพอที่จะตั้งปราสาทและทำพิธีศพได้ ส่วนคนในเมืองที่มีบริเวณบ้านคับแคบก็จะเอาศพไปตั้งไว้ที่วัด

วัดในแถบภาคเหนือจะต่างจากวัดของภาคอื่นๆ คือ ในวัดจะไม่มีเมรุเผาศพ เพราะการเผาศพจะไม่ได้เผาที่วัด แต่จะนำไปเผาที่สุสาน หรือ ป่าช้า คนล้านนาเรียก ป่าเหี้ยว นอกจากปราสาทที่พบอยู่ในพิธีกรรมงานศพของคนธรรมดาแล้ว ยังมีปราสาทอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บรรจุศพของพระที่มรณภาพ จะแตกต่างกันในรายละเอียดและทำขึ้นอย่างสวยงามมากกว่าของคนธรรมดา ส่วนใหญ่แล้วจะทำขึ้นเป็นรูปนกหัสดีลิงค์ ซึ่งตามตำนานเชื่อว่า นกหัสดีลงค์เป็นนกในวรรณคดีไทยที่มีพละกำลังมากเป็น 5 เท่าของช้าง และเป็นพาหนะของผู้มีบุญ ดังนั้นในพิธีงานศพของพระเถระเราจึงเห็นปราสาทบรรจุศพทำเป็นรูปนกหัสดีลิงค์

พิธีการเรื่องงานศพนั้น เริ่มต้นจากการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตายสมัยก่อนนิยมใช้น้ำอบ

11

ตามปกติเมื่อมีคนตายไม่ว่าจะตายที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล ญาติต้องไปแจ้งอำเภอเป็นอันดับแรก แล้วเขาก็มีวิธีการชันสูตรศพตามระเบียบกฎหมายของบ้านเมือง เมื่อไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ญาติก็สามารถนำร่างไร้วิญญาณนั้นมาประกอบพิธีตามศาสนาใครศาสนามันได้ สำหรับชาวพุทธก็มีการสวดศพ บำเพ็ญกุศล เริ่มตั้งแต่มีการรดน้ำศพ บรรจุศพลงโลง สวดพระอภิธรรม ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู้วายชนม์ เผาศพ เก็บอัฐิ และการทำบุญครบรอบวันตาย ตามแต่วัฒนธรรมและกำลังทรัพย์ของแต่ละบ้านจะเอื้ออำนวย

พิธีการเรื่องงานศพนั้น เริ่มต้นจากการอาบน้ำแต่งตัวให้ผู้ตาย สมัยก่อนนิยมใช้น้ำอบ ประแป้ง แต่งตัวตามยศศักดิ์ที่มี ถ้าเป็นชาวบ้านธรรมดา ๆ ก็เลือกชุดที่ผู้ตายชอบใส่ แต่บางบ้านนิยมใช้เสื้อผ้าใหม่ ๆ สวย ๆ ด้วยมีความคิดว่าอยากให้ผู้ตายดูดีที่สุดเป็นครั้งสุดท้าย จากนั้นก็นำศพขึ้นนอนบนตั่ง โดยหันศีรษะไปทางทิศตะวันตก เพื่อให้ญาติพี่น้อง มิตรสหายเข้ามารดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพและขอขมากันเป็นครั้งสุดท้ายก่อนที่จะทำการมัดตราสังบรรจุลงหีบศพต่อไป ถ้าเป็น
ข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ ญาติสามารถทำเรื่องขอน้ำหลวงพระราชทานเพื่อนำมาอาบน้ำศพได้ วิธีมัดตราสังนั้นโบราณเขาจะทำเป็นกรวยดอกไม้สดใส่ในมือผู้ตายที่จัดท่าให้พนมมือไหว้ระหว่างอก แล้วก็นำเงินใส่ไปในปากผู้ตาย

ประเพณีการใส่เงินในปากคนตายนั้น เริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อไรไม่มีการบันทึกเอาไว้ แต่จากการกล่าวอ้างว่ามีหลักฐานปรากฏอยู่ในประเพณีของชนหลายชาติไม่ว่าจะเป็น กรีก ฮินดู จีน ยิว ฯลฯ สำหรับคนไทยแต่โบราณทำเป็นประเพณีสืบกันมานั้น มีเล่ากันมาว่า สมัยก่อนนิยมเย็บเป็นถุงผ้าเล็ก ๆ นำเงินหรือของมีค่าบรรจุใส่ถุงแล้วยัดใส่ไปในปากผู้ตายอีกทีหนึ่ง โดยให้เชือกที่มัดปากถุงผ้านั้นห้อยออกมานอกปากเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ถุงนั้นร่วงหล่นเข้าไปในคอผุ้ตาย จึงมีคำเรียกกันว่า “ เงินปากผี “ เจ้าเงินปากผีนี้เองที่ผู้สร้างหนังไทย นำมาเป็นพล๊อตเรื่องสร้างเป็นหนังเป็นละคร หรือเขียนเป็นนวนิยายให้อ่านกันมานักต่อนักแล้ว นอกจากนี้ พวกบ้าวัตถุอาถรรพ์ทั้งหลาย ต่างก็พยายามแสวงหาเงินปากผีมาไว้ครอบครอง นัยว่ามันเฮี้ยนดีนักแล เอ้า…ความเชื่อของแต่ละคน ก็ว่ากันไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเพณีเอาเงินใส่ปากผู้ตายนั้น เป็นเคล็ดในการสอนสั่งญาติมิตรสหายของผู้ตายให้เห็นว่า คนเราเมื่อตายแล้ว แม้แต่เงินที่อยู่ในปากตัวเองยังเอาไปไม่ได้ สิ่งหนึ่งที่จะสามารถติดตามไปได้ก็คือความดี บุญกุศลที่ได้สะสมเอาไว้เมื่อยามมีชีวิตอยู่ ซึ่งสาระสำคัญในส่วนนี้มักจะเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ที่จะต้องมาเทศน์ให้ญาติโยมฟัง